ในฐานะผู้นำองค์กร ถ้าเราทำผิดเราควรประกาศออกมาไหม จะกลายเป็นคนไม่น่าเชื่อถือหรือเปล่า ?

สมมุติว่าเราผิด และเราก็อยากจะยอมรับผิด แต่กลัวว่าลูกน้องจะไม่เชื่อถือในศักยภาพของเรา กลัวจะคิดว่าเราไม่เก่งจริง แล้วจะบริหารทีมต่อไปได้ยังไง แต่ในขณะเดียวกัน หากใครทำอะไรผิด เราก็อยากให้เขาออกมาประกาศ กล้ายอมรับผิดตรงๆ ดีกว่ารู้ว่าผิดแล้วเก็บเอาไว้ ซึ่งตอนนี้ก็อยากประกาศออกมาแต่ก็กลัวคนในทีมจะไม่เชื่อถือไว้วางใจในงานต่อๆไป ทุกท่านมีคำแนะนำหรือความคิดเห็นอย่างไรบ้างครับ 

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

3 คำตอบ

  • Poonsawat Keawkaitsakul
    Poonsawat Keawkaitsakul
    12 พฤศจิกายน 2021 23:36 น.
    ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอเพียงแต่ว่า ความผิดพลาดนั้นเป็นความผิดพลาดครั้งแรกหรือความผิดพลาดซ้ำซาก และแนวทางป้องกันและแก้ปัญหามีประสิทธิภาพเพียงใด เพราะคนไทยเป็นคนที่ชอบให้อภัย
    การที่ผู้นำองค์กรกล้ายอมรับผิด ไม่ได้เป็นการเสียฟอร์มหรือเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ไม่ดี ในทางตรงข้ามผู้นำองค์กรที่กล้ายอมรับผิดจะได้ใจและเป็นแบบอย่างที่ดีให้พนักงาน แต่การยอมรับผิดต้องมาพร้อมกับวิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพและชาญฉลาดรวมทั้งการป้องกันการเกิดปัญหาเดิมซ้ำ 

    ผู้นำที่ดีต้องยอมรับทั้งผิดและชอบ ไม่มีใครถูกเสมอครับ
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • Poonnie HR
    Poonnie HR
    09 พฤศจิกายน 2021 23:50 น.
    หลักสำคัญอย่างหนึ่งของการเป็น Leadership คือ empathy (การเอาใจเขาใส่ใจเราหรือลองไปเป็นเค๊าดูบ้างจะรู้สึกยังไง) แล้วมันเกี่ยวอะไรกับการยอมรับผิด เช่นเดียวกัน วันที่ลูกน้องทำผิดพลาด แล้วไม่ยอมรับในความผิดพลาดนั้น โทษลมฟ้าอากาศไปเรื่อยๆ เพื่อให้ตนเองดูดี ในฐานะของหัวหน้าเราจะรู้สึกอย่างไร  ไม่ต่างกัน วันที่เราในฐานะหัวหน้าทำผิดพลาด ยอมรับ และรับเป็นประสบการณ์เพื่อทำให้ตนเองและทีมดีขึ้น  ผมว่าน่าชมเชยมากกว่าครับ  แต่ระวังอย่าผิดเรื่องเดิมหรือเหตุผลเดิมๆ ในการตัดสินใจผิด อันนี้น้องๆในทีม จะไม่ยอมรับในตัวเราครับ
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • ดร.พลกฤต  โสลาพากุล
    ดร.พลกฤต โสลาพากุล
    07 พฤศจิกายน 2021 21:00 น.
    จริงๆก็ทำได้ แต่ก็ต้องไว้ลายหน่อย ว่างานนี้ผมผิดพลาดนะครับ "เป็นความผิดของผมเอง แต่จงเชื่อเถอะมันจะไม่มีวันเกิดขึ้นอีก เพราะทีมเรายอดเยี่ยมอยู่แล้ว"  ผมเรียกว่ายอมรับผิด แต่ก็พูดในเชิงจิตวิทยาเพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชายังเชื่อมั่นในตัว ตรงประโยคที่ว่า  "เป็นความผิดของผมเอง แต่จงเชื่อเถอะมันจะไม่มีวันเกิดขึ้นอีก"
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

อันดับผู้ให้ข้อมูล