วิธีการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้

Chatchanan
Chatchanan
    07 กันยายน 2021 08:25 น.
    ช่วยอธิบาย วิธีการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ว่าเป็นแบบไหน ยังไงคะ

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    4 คำตอบ

    • ดร.พลกฤต  โสลาพากุล
      ดร.พลกฤต โสลาพากุล
      30 ธันวาคม 2021 21:54 น.
      ต้องเริ่มจากผู้บริหารก่อนว่า เอาจริงเอาจังแค่ไหน และการทำแบบต่อเนื่องให้เป็นวัฒนธรรมขององค์กร
      0

      คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

      ขอบคุณสำหรับข้อมูล
    • Poonsawat Keawkaitsakul
      Poonsawat Keawkaitsakul
      11 กันยายน 2021 15:49 น.
      ขออนุญาตแชร์ครับ

      ก่อนอื่นต้องทราบแนวทางการสร้าง Learning Organization ก่อน หลังจากนั้นต้องทราบขั้นตอนการสร้างและพัฒนาองค์กรสู่ LO รวมทั้งการวิเคราะห์อุปสรรคในการสร้าง LO และสุดท้าย คือ ต้องทราบเป้าหมายหรือลักษณะองค์กร LO พึงประสงค์ดังนี้

      แนวทางการสร้าง LO คือ
      1. สร้าการเรียนรู้ของคนในองค์กร (Personal Mastery) คือ การสร้างการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น การเรียนรู้ตลลอดชีวิต (Life Long Learning)
      2. การสร้างความมีสติ (Mental Model) คือ สมาชิกในองค์กรมีจิตใจในการสะท้อนภาพต่าง ๆ ที่ชัดเจนตามความจริง
      3. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนในองค์กร (Shared Vision) คือ การมีวิสัยทัศน์ การเปลี่ยนแปลง และการมีจุดมุ่งหมายด้านการเรียนรู้ร่วมกัน
      4. การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning) คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิด และการใช้ความสามารถศักยภาพของทุกคนในทีม
      5. ระบบการคิดของคนในองค์กร (System Thinking) คือ การคิดเป็นระบบ การคิดเพื่อหาความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ แบบองค์รวม
      ขั้นตอนการสร้างและการพัฒนาองค์กรสู่ LO

      1. Unfreeze คือ การปลดล็อคองค์กร ได้แก่ 
        • การยอมรับการเปลี่ยนแปลง
        • การหาความต้องการในการเปลั้ยนแปลง
        • การได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร
      2. Changed Process คือ กระบวนเปลี่ยนหรือสร้างองค์กร LO ได้แก่
        • การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมขององค์กร
        • การระบุปัญหาขององค์กรเพื่อจัดลำดับความสำคัญในการแก้ไข
        • แก้ปัญหาโดยทุกภาคส่วนในองค์กร ได้แก่ 1) คนโดยใช้ทักษะ ความรู้ ทัศนคติ และการประสานงาน 2) ระบบ ได้แก่ ระบบการบริหาร ระบบการดำเนินการ ระบบรางวัล และระบบการสื่อสารในองค์กรเป็นต้น และ 3​) โครงสร้าง คือ การใช้โครงสร้างหลักขององค์กรในการสร้าง LO หรือการใช้โครงสร้างด้านสายบังคับบัญชา เป็นต้น
      3. Refreeze คือ การกลับมาล็อคองค์กร เป็นการล็อคองค์กรเพื่อพัฒนาหลังจากจัดลำความสำคัญของปัญหา กำหนดหัวข้อการเปลี่ยนแปลงหมายถึง การเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรทีละเรื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ให้บุคลากรสามารถ Focus ได้ถูกเป้าหมาย และเกิดการพัฒนาจนเกิดการตกตะกอนทางความรู้และพัฒนา
      อุปสรรคการสร้าง LO ประกอบด้วย

      1. บุคลากรสนใจเฉพาะงาานของตน
      2. บุคลากรคิดว่า "ตนเองไม่เกี่ยวข้องกับปัญหา"
      3. บุคลากรทำงานแบบเดิม ๆ ตามความเคยชิน
      4. องค์กรมียืดหยุ่นตามสถานการณ์มากเกินไปจนขาดการ Focus เป้าหมาย
      5. บุคลากรยึดติดกับการเรียนรู้จากประสบการณ์โดยไม่สนใจสถานการณ์ปัจจุบัน
      6. องค์กรไม่มีระบบการสืบทอดผู้บริหารทำให้ไม่สามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (เป้าหมายเปลี่ยนจากการเปลี่ยนผู้บริหาร)
      7. การขาดสิตในการคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป (เลือกหัวข้อในการเปลี่ยนแปลงมากเกินไปในเวลาเกียวกัน)
      ลักษณะองค์กร LO พึงประสงค์ คือ

      1. องค์กรที่มีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
      2. องค์กรที่มีการปฏิบัติ หรือ องค์กรที่เน้นการปฏิบัติ
      3. องค์การมีการเรียนรู้จากบทเรียนในอดีต
      4. องค์กรมีการเรียนรู้จากผู้อื่น เช่น การสังเกต และการสัมภาษณ์
      5. องค์กรมีการถ่ายทอดความรู้
      โดยขั้นตอนการสร้างและการพัฒนาองค์กรสู่ LO แสดงภาพรวมตามแผนภาพด้านล่าง

      0

      คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

      ขอบคุณสำหรับข้อมูล
    • Panthipa Suksirisorn
      Panthipa Suksirisorn
      11 กันยายน 2021 09:35 น.
      องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
      คือ องค์กรที่มีกาถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อให้คนในองค์กรได้มีโอกาสใช้เป็นความรู้พื้นฐานในการพัฒนาการทำงานต่อไป
      โดยเป็นการถ่ายทอดความรู้จากคนในองค์กร หรือจากการเรียนรู้ภายนอกองค์กร

      แนวทางหลักในการสร้างองค์การการเรียนรู้
      1. การเรียนรู้ของสมาชิกในองค์กร (Personal Mastery)
      สมาชิกในองค์กรมีมีลักษณะสนใจและใฝ่หาที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ มีความปรารถนาที่จะเรียนรู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองและเป้าหมายในการทำงาน
      2. ความมีสติ (Mental Model)
      สมาชิกในองค์กรมีสภาวะทางจิตใจและความคิดที่สามารถสะท้อนภาพและการแยกแยะเนื้อหาการเรียนรู้ เพื่อปรับมุมมองต่อการมองเหตุการณ์และการพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ให้ถูกต้องสอดคล้องกัน ที่จะนำมาสู่การตัดสินใจที่ถูกต้อง 
      3. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนในองค์การ (Shared Vision)
      เป็นองค์การที่สมาชิก มีวิสัยทิศน์ของตนเองสอดคล้องกับวิสัยทัศน์องค์กร อันส่งผลให้เกิดความคาดหวังของสมาชิกแต่ละคนมีทิศทางและพร้อมทำงานเพื่อเป้าประสงค์เดียวกัน
      4. การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning)
      การเรียนรู้จะเพิ่มพูนมากขึ้นจากการที่สมาชิกในทีมมีการเรียนรู้ร่วมกันมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กันอย่างต่อเนื่องและ สม่ำเสมอ
      5. ระบบการคิดของคนในองค์การ (Systems Thinking)
      เป็นกระบวนการในการหาความสัมพันธ์ ความเชื่อมโยงของความรู้ ที่เกิดขึ้นเห็นแบบแผน เห็นขั้นตอนของการพัฒนา

      กลยุทธ์ที่ส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้สมาชิกในองค์การเกิดการเรียนรู้ตลอดเวลาและอย่าง
      ต่อเนื่องได้แก่
      • การจัดการความรู้ (Knowledge Management) : การถ่ายทอด ประสบการณ์ ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมหรือทดลอง ตลอดจนการสร้างความรู้ใหม่ๆ เป็นแนวทางในการสร้างนวัตกรรมเพื่อก่อให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน
      • การใช้มาตรฐานอ้างอิง (Benchmarking) : การวัด ประเมิน และเปรียบเทียบสินค้า บริการ กระบวนการและการปฏิบัติขององค์กรกับของผู้อื่นเพื่อนำมาสรรค์สร้างความเป็นเลิศให้เกิดขึ้นในองค์กร
      • การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management) : การควบคุมคุณภาพ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในด้านผลิตภัณฑ์และบริการ หรือตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า ที่องค์กรต้องนำไปพัฒนาการทำงาน การผลิต และการดูแลลูกค้า
      วิธีการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ว่าเป็นแบบไหน
      1. Unfreeze = ขั้นเตรียมความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง
      สิ่งที่จำเป็นในขั้นตอนนี้ คือ สร้างกระแสของความต้องการการเปลี่ยนแปลง
      - ระดมความคิดว่าต้องการความเปลี่ยนแปลงอย่างไร
      - องค์การต้องการอะไร
      2. Change = ขั้นตอนในการเปลี่ยนแปลง
      ซึ่งการที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างไรนั้นเราควรจะศึกษาถึงองค์การของเรา ให้เข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริง
      เพื่อที่จะได้แก้ปัญหาได้ถูกจุด
      3. Refreeze = หยุดภาวะการเปลี่ยนแปลง กลับเข้าสู่ภาวะงานตามปกติ

      อ้างอิง
      0

      คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

      ขอบคุณสำหรับข้อมูล
    • ดร.พลกฤต  โสลาพากุล
      ดร.พลกฤต โสลาพากุล
      07 กันยายน 2021 20:55 น.
      ควรมีการจัดทำ KM หรือการจัดการความรู้ โดยอาจจะทำเป็น ตาราง Skill Matrix หรือ Skill Map ของพนักงานก็ได้
      เพื่อจะได้รู้ว่าเขาขาดอะไรในส่วนที่ต้องเติมเต็มความรู้นั้นๆ เช่น ทักษะที่พนักงานทุกระดับที่ควรทีคือ การทำงานเป็นทีม การสื่อสาร เป็นต้น
      หากจะต้องเติมเต็มทักษะนั้นก็นำไปสู่การพัฒนาอบรม การสอนงาน การทำ OJT เป็นต้น
      0

      คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

      ขอบคุณสำหรับข้อมูล

    อันดับผู้ให้ข้อมูล