เรามีสิทธิ์ไม่จ่ายเงินกับพนักงานที่ยังไม่ผ่านโปรกรณีที่ ขาด ลา มาสายได้ไหม

แหวนเพชร
แหวนเพชร
16 มิถุนายน 2021 02:00 น.
รบกวนหน่อยค่ะ ในช่วงทดลองงานสี่เดือนแรก นายจ้างไม่จ่ายเงินในกรณีแบบนี้ได้ไหมคะ เมื่ออ้างอิงจากกฎหมายแรงงาน ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

2 คำตอบ

  • ดร.พลกฤต  โสลาพากุล
    ดร.พลกฤต โสลาพากุล
    27 ตุลาคม 2021 01:23 น.
    ให้กลับไปดูระเบียบปฏิบัติที่เขียนไว้ครับ กำหนดไว้ว่าอย่างไร
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • ในกรณีการขาดงานของพนักงานเนื่องมาจากการลาป่วย มีพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2 มาตราที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

    1.​ การลาป่วย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอื่องมาจากการงแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 32 กำหนดไว้ว่า “ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบัน

    2.พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 57 มีท่อนนึงกล่าวว่า “บริษัทต้องจ่ายค่าจ้างให้พนักงานในวันที่ลาป่วยเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลาป่วย แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามสิบวัน”

    ดังนั้น​ หากพิจารณาจาก​ 2​ มาตราข้างต้นแล้ว​ แม้จะอยู่ในข่วงทดลองงานลูกจ้างก็มีสิทธิได้รับเงินค่าจ้างในช่วงที่ลาป่วย

     ส่วนในกรณี การลาหยุด ทางกฎหมายยังได้กำหนดบริบทของวันหยุดอีก  3 ประเภทคือ  
    1.วันหยุดประจำสัปดาห์
    ตามมาตรา 28 "ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่า 1 วัน โดยวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกินหกวัน....."

    2.วันหยุดประเพณี (หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์)
    ตามมาตรา 29 "ให้นายจ้างประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีให้ลูกจ้างทราบ เป็นการล่วงหน้า ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ให้นายจ้างพิจารณากำหนดวันหยุดตามประเพณีจากวันหยุดราชการประจำปี วันหยุดทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งท้องถิ่น..."

    3.วันหยุดพักผ่อนประจำปี (หรือ "วันลาพักร้อน" ) มาตรา 30 "ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปี มีสิทธิ์หยุดพักผ่อนประจำปีได้ ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

      ดังนั้นในกรณีที่ ลูกจ้างลาหยุดโดยใช้วันหยุดพักผ่อนประจำปี ก่อนการผ่านการทดฃองงาน นายจ้างสามารถแจ้งให้ลูกจ้างรับทราบ เรื่องการ ลาหยุดแบบไม่รับค่าจ้างได้ "Leave Without Pay "  เนื่องจากทางบริษัทมักจะกำหนดให้ใช้วันลาพักร้อน ได้หลังจากผ่านทดลองงาน หรือ บางบริษัทอาจกำหนดให้ใช้หลังจากทำงานครบ  1ปี

    ส่วนเรื่อง การมาสาย ไม่สามารถหักเงินค่าจ้างได้ แต่สามารถนำไปเป็นส่วนหนึ่ง ของการประเมินผลงานประจำปีเพื่อปรับเงินเดือนและการจ่ายโบนัสได้

     เพิ่มเติม การแก้ปัญหาการมาสายของพนักงาน ทางบริษัทสามารถดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ได้ คือ หากเป็นการมาสายครั้งแรก ก็ทำการตักเตือนด้วยวาจา หากมีการมาสายเกิดขึ้นซ้ำอีก ก็ทำการตักเตือนด้วยลายลักษณ์อักษร และ หากผิดซ้ำซากในเรื่องเดิม นั่นก็คือ เรื่องมาสาย นายจ้างสามารถยกเลิกการว่าจ้าง โดยทางนายจ้างไม่ต้องเสียเงินค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง


    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

อันดับผู้ให้ข้อมูล