- พนักงาน (Officer)
- สำนักงานตัวแทน
- โรงงาน/การผลิต
- 51~100 คน
HR เก็บข้อมูลคนใกล้ชิดของผู้สมัครที่มาสัมภาษณ์โดยไม่มี PDPA ถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่ ?
ขอสอบถามเกี่ยวกับข้อกฎหมายดังกล่าวด้วยค่ะ
2 คำตอบ
- เอื้อมพร วรรณยิ่ง Auemporn(Aor)24 สิงหาคม 2021 16:43 น.พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PDPA) เป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์ กลไก และมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในความดูแลขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รับรองสิทธิแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ตลอดจนกำหนดมาตรการการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหากเกิดเหตุละเมิดอย่างเหมาะสม เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและรุนแรง ส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายฉบับนี้
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) จึงยื่นร่างข้อเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีและมีมติเห็นชอบให้ออก พระราชกฤษฎีกา กำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2564 ให้ขยายเวลาบังคับใช้ออกไปอีก 1 ปี ถึง 31 พฤษภาคม 2565
กฎหมายฉบับนี้จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค โดยข้อบังคับกฎหมาย PDPA จะให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติการทำงาน และข้อมูลส่วนบุคคลประเภทอื่น ๆ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ บันทึกเสียง เลขบัตรประชาชน หรือข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ เพื่อประโยชน์โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม
โดยสรุป คือทางบริษัทควรมีร่างกฎระเบียบข้อบังคับPDPA ภายในองค์กรและทำจดหมาย consent form ให้พนักงานในบริษัทเซ็นยินยอมและปฎิบัติตาม เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยสามารถเริ่มทำได้เลยในปีนี้
สามารถศึกษา พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล Personal Data Protection Act หรือ PDPA พ.ศ. 2562ได้ที่ลิ้งค์ข้างล่างค่ะ
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/069/T_0052.PDF
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://pdpa.online.th/content/9727/0ขอบคุณสำหรับข้อมูลดร.พลกฤต โสลาพากุล27 กรกฎาคม 2021 14:43 น.ถ้าพนักงานได้เขียนคำยินยอมไว้ก็ไม่ได้ผิดหลักอะไร ก็หมายความว่า พนักงานท่านนั้นได้ขอความยินยอมจากผู้ให้ตรวจสอบข้อมูลแล้ว แต่เราจะเก็บไว้เพื่อประโยชน์อะไร อันนี้ก็ต้องลองวิเคราะห์ ตามเหตุและผลครับ0ขอบคุณสำหรับข้อมูล
คุณเห็นด้วยกับนโยบายความเป็นส่วนตัว
และได้ศึกษาข้อตกลงในการใช้งานของ HR NOTE ก่อนเข้าใช้ระบบสมาชิก
มีบัญชีอยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบ
อันดับผู้ให้ข้อมูล
ขออภัยในความไม่สะดวก
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนทำรายการต่อไป
มีบัญชีอยู่แล้ว?เข้าสู่ระบบ