- หัวหน้าทีม (Team Leader)
- ทรัพยากรมนุษย์/บุคคล
- โรงงาน/การผลิต
- 101~200 คน
บริษัทปิดกิจการในช่วงโควิคต้องจัดการเรื่องเงินกับพนักงานอย่างไรให้ถูกกฎหมาย
กรณีถ้าบริษัทปิดกิจการด้วยพิษเศรษฐกิจหรือโควิด หรืออื่นๆ
1.) บริษัทยังต้องจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้างให้กับ พนง.ไหมคะ?
2.) และถ้าบริษัทฯบอกว่าไม่มีตังค์แล้วจ่ายค่าชดเชยไม่ได้หรอกแบบนี้ได้ไหม?
3.) ถ้าบริษัทบอกจะจ่ายชดเชย บริษัทฯได้มีการประกาศลดเงินเดือน พนง.อยู่
หากจะได้รับเงินชดเชยบริษัทฯต้องจ่ายชดเชยด้วยอัตราเงินเดือนปกติเดิม หรือจ่ายอัตราที่หักลดในปัจจุบันคะ?
ปล.ข้อนี้เห็นมาจากกรุ๊ปสาธารณะเลยขออนุญาตนำมาสอบถามเพิ่มเติมค่ะ
1.) บริษัทยังต้องจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้างให้กับ พนง.ไหมคะ?
2.) และถ้าบริษัทฯบอกว่าไม่มีตังค์แล้วจ่ายค่าชดเชยไม่ได้หรอกแบบนี้ได้ไหม?
3.) ถ้าบริษัทบอกจะจ่ายชดเชย บริษัทฯได้มีการประกาศลดเงินเดือน พนง.อยู่
หากจะได้รับเงินชดเชยบริษัทฯต้องจ่ายชดเชยด้วยอัตราเงินเดือนปกติเดิม หรือจ่ายอัตราที่หักลดในปัจจุบันคะ?
ปล.ข้อนี้เห็นมาจากกรุ๊ปสาธารณะเลยขออนุญาตนำมาสอบถามเพิ่มเติมค่ะ
1 คำตอบ
- เอื้อมพร วรรณยิ่ง Auemporn(Aor)21 กันยายน 2021 08:44 น.
สิ่งที่นายจ้างต้องปฏิบัติเมื่อเลิกจ้าง ให้ถูกต้องตามกฎหมายมีดังต่อไปนี้
ตอบข้อ 1 และ 2 : บริษัทยังคงต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
การนับอายุงานของลูกจ้าง นับตั้งแต่วันแรกที่เริ่มปฏิบัติงานจนถึงวันสุดท้ายของการทำงาน หากครบ 120 วันติดต่อกัน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แต่ถ้าไม่ครบ 120 วัน หรือทำครบ 120 วันแต่ไม่ต่อเนื่องกัน นายจ้างจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย ดังนี้
- ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี จะได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 30 วันสุดท้าย
- ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี จะได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้า 90 วันสุดท้าย
- ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี จะได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 180 วันสุดท้าย
- ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี จะได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 240 วันสุดท้าย
- ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย
เพิ่มเติม คือ ต้องบอกกล่าวให้พนักงานทราบล่วงหน้า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17
กรณีสัญญาจ้างไม่กำหนดเวลาจ้างไว้แน่นอน นายจ้างจะต้องบอกกล่าวให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงงวดการจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่ง ซึ่งอาจทำด้วยวาจาหรือ ทำเป็นหนังสือก็ได้ ในทางการจัดการที่ดีควรจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อความชัดเจนไม่เกิดการโต้เถียงภายหลัง
ตอบข้อ 3
บริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยตาม “ค่าจ้างอัตราสุดท้าย” เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชย และบริษัทต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เช่น ถ้าพนักงานรับเงินเดือน 20,000 บาท แล้วมีการเซ็นยินยอมลดเงินเดือนเหลือ 18,000 บาท ต่อมาอีก 3 เดือนบริษัทแจ้งเลิกจ้างพนักงานคนนั้นเพราะบริษัทขาดทุน บริษัทก็ต้องจ่ายค่าชดเชยโดยใช้ฐานค่าจ้างอัตราสุดท้าย คือ 18,000 บาทในการคำนวณค่าชดเชยจ่ายตามมาตรา 118
0ขอบคุณสำหรับข้อมูล
คุณเห็นด้วยกับนโยบายความเป็นส่วนตัว
และได้ศึกษาข้อตกลงในการใช้งานของ HR NOTE ก่อนเข้าใช้ระบบสมาชิก
มีบัญชีอยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบ