บริษัทมีความจำป็นที่จะต้อง Layoff พนักงานออก ทำอย่างไรให้มันเป็นการจากกันด้วยดี ไม่เกิดผลกระทบตามมา

อยากได้คำแนะนำในเชิงจิตวิทยาซึ่งเป็นวิธีที่ละมุนละม่อมและรักษาใจทุกฝ่ายไว้ได้อย่างดีที่สุด

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

1 คำตอบ

  • Napat Sanguankaew
    Napat Sanguankaew
    22 มีนาคม 2021 16:17 น.
    มี 3 step ที่แนะนำให้ทำดังนี้

    1. ประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการลดคนด้วยการทำ Stakeholder Analysis

    เพื่อที่จะระบุผู้ที่เกี่ยวข้องกับการที่จะมีการปลดพนักงานออก ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนร่วมงาน เพื่อนพนักงานต่างหน่วยงาน ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา ลูกค้า หรือ คู่ค้าที่พนักงานท่านดังกล่าวได้ติดต่อประสานงานอยู่ โดยสามารถแยกออกเป็น 4 ประเภท รูปด้านล่างนี้



    การทำ Stakeholder Analysis นี้นอกจากจะทำให้พนักงานและผู้เกี่ยวข้องได้รับผลกระทบน้อยลงแล้ว ยังเป็นการช่วยองค์กรให้สามารถการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและไม่สะดุด ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะใช้ผ่านวิกฤตขององค์กรไปได้


    2. มีความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ต่อพนักงานที่ถูกปลดออก

    การที่พนักงานถูกปลดออกนั้น เขาได้รับผลกระทบอย่างมากอยู่แล้ว HR เราควรทำความเข้าใจเขา และช่วยเหลือในแง่ต่างๆที่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมการข้อกฎหมายให้ครบถ้วน ด้วยความจริงใจ ให้ข้อมูลเรื่องของสิทธิที่เกี่ยวข้อง โดยมี check list  ให้ดังนี้

    Toolbox :Check list ของสิ่งที่สามารถทำได้หลังจากการปลดพนักงานเพื่อแสดงถึง Empathy

    2.1 ทำการบ้านล่วงหน้า หาข้อมูลพนักงานท่านที่กำลังจะคุย
    • ข้อมูลบนหน้ากระดาษ ผลงาน ประวัติครอบครัว ประวัติการรักษาพยาบาล
    • ข้อมูลที่ไม่อยู่บนหน้ากระดาษ เช่น ความสัมพันธ์ต่างๆกับคนในองค์กร สาเหตุการเลิกจ้าง
    2.2 ฟังอย่างตั้งใจ พูดเล่าสาเหตุให้สั้น กระชับ ควรพูดน้อยกว่าเขาในช่วง 10 นาทีแรก

    2.3 ทำความเข้าใจ และค้นพบให้เจอว่าอะไรเป็นสิ่งที่เขากังวล หรือห่วงที่สุด ลองตรวจสอบแง่มุม
    • ผลกระทบต่อครอบครัว ภาระทางการเงิน
    • การงาน ความก้าวหน้าในงาน
    • สุขภาพ สภาพจิตใจ
    2.4 ชี้แจงสิทธิต่างๆ โดยเน้นการต่อยอดและขยายความในสิ่งที่เขากังวล
    • สิทธิต่างๆที่เขาได้รับ
    • กองทุนประกันสังคม
    • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (คงไว้/ถอนออก/การโอนไปที่ใหม่)
    • เงินชดเชยการเลิกจ้าง/สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
    • การเสนอความช่วยเหลือในการเริ่มต้นชีวิตใหม่
    • ช่วย Review CV รวมไปถึงการให้เทคนิคในการสัมภาษณ์งาน
    • Refer ต่อไปยังบริษัทอื่น ในเครือข่ายของ HR
    2.5 ชี้แจงขั้นตอน และสิทธิต่างๆ เพิ่มเติม โดยเน้นการต่อยอดและขยายความในสิ่งที่เขากังวล
    2.6 ให้กำลังใจ และชี้มุมมองการเดินต่อไปข้างหน้า

    3.วางแผนการสื่อสารอย่างชัดเจน รัดกุม และจริงใจ

    HR ควรจะใช้แต้มต่อที่รู้จักพนักงานในการพูดคุย และสื่อสารเรื่องดังกล่าว โดยไม่กล่าวโทษทั้งตัวพนักงาน ตัวบริษัท รวมไปถึงผู้บริหาร โดยชี้ให้เห็นสิ่งที่เกิดขี้นต่อองค์กรตามความเป็นจริง ขั้นตอนต่างๆที่จะเกิดขึ้นและความท้าทายที่เขาต้องได้เผชิญในเวลาอันใกล้ และที่สำคัญที่สุดต้องสื่อสารด้วยความจริงใจและปรารถนาดี จะทำให้ขั้นตอนการบอกข่าวร้ายยากๆนี้ ผ่านพ้นไปได้ โดยยังมีมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน

    Ref.จากคำตอบของคุณ วัฒนศักดิ์ วิบูลย์ชัยกุล ที่เคยเขียนตอบเรื่องนี้ไว้ 
    ---
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

อันดับผู้ให้ข้อมูล