ถ้านายจ้างสั่งพักงานลูกจ้าง โดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า ถือเป็นการเลิกจ้างได้หรือไม่ ?

แม่หญิงการะเกด
แม่หญิงการะเกด
10 มีนาคม 2021 10:19 น.
เรียนปรึกษาท่านอาจารย์ครับ ผมในนามบริษัท B จำกัด ได้รับหนังสือจาก สนง.สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ส่งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน โดยสิ่งที่ส่งมาด้วยด้วยนั้น เป็นคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สนง.สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กทม. จำนวน 1 ชุด โดยหนังสือฉบับดังกล่าว สนง.สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ขอส่งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานตามคำร้องของ น.ส. A (นามสมมุติ) ซึ่งร้องว่านายจ้าง ไม่จ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย 

โดยในรายละเอียดฉบับดังกล่าว มี 2 ประเด็น คือ ประเด็นที่ 1 ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือไม่ และเป็นจำนวนเท่าใด (ในเอกสารสรุปว่า การที่นายจ้างได้สั่งพักงานลูกจ้าง ตั้งแต่วันที่ xxx จนถึงวันที่ xxx โดยไม่ได้จ่ายค่าจ้างในช่วงเวลาดังกล่าว ย่อมเป็นการเลิกจ้างแล้ว ตามมาตรา 118 วรรคสอง แห่งพระราชบัญติดังกล่าว กรณีนี้ จึงต้องนับวันนที่ xxx เป็นวันที่เลิกจ้าง เมื่อนายจ้างไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า ตามที่กฏหมายกำหนดตามมาตรา 17/1 แห่งพระราชบัญติที่อ้างแล้ว ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างแทนการบอกกว่าล่วงหน้า ตั้งแต่วันที่ xxx ถึงวันที่ xxx เป็นเงิน 25,000 บาท) 

ประเด็นที่ 2 ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่ และ เป็นจำนวนเงินเท่าใด (ในเอกสารสรุปว่า เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง โดยไม่มีเหตุหนึ่งเหตุใดที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง ตามมาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พศ 2541 แล้ว ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยสำหรับการทำงานตั้งแต่วันที่ xxx ถึงวันที่ xxx เป็นเงิน 50,000 บาท ตามมาตรา 118 (2) แห่งพระราชบัญบัญติดังกล่าว) *** อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พศ 2541 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญบัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พศ 2551 พนักงานตรวจแรงงานจึงมีคำสั่งให้บริษัท B จำกัด โดยกรรมการผู้มีอำนาจ จ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย ให้แก่ลูกจ้างผู้ร้อง เป็นเงิน 75,000 บาท ทั้งนี้ ให้นำจำนวนเงินดั่งกล่าวไปจ่าย ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ภายในสามสิบวันหรือวันที่ทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่งนี้*** ดั่งนั้น จึงขอเรียนปรึกษากับทางอาจารย์ครับ ว่าบริษัท B จำกัด จำเป็นที่จะต้องจ่ายใช่หรือไม่ และ ถือเป็นที่สิ้นสุดในทางกฏหมายหรือไม่ครับ หากยังอ้างอิงกับข้อกฏหมายใดครับ ขอบคุณครับ 

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

2 คำตอบ

  • ดร.พลกฤต  โสลาพากุล
    ดร.พลกฤต โสลาพากุล
    09 ธันวาคม 2021 15:22 น.
    ไม่ได้ครับ เนื่องจากจะโดนทั้งโทษทางอาญา และโทษปรับครับ
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • มีทางเลือก2 ทางครับ 1 ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานภายใน 30 วันนับแต่ได้รับคำสั่ง 2 นำคดีไปฟ้องศาลภายใน30วัน นับแต่ได้รับคำสั่ง หากไม่ปฏิบัติตามทั้ง2 ทาง จะถูกส่งเรื่องดำเนินคดีโดยมีทั้งโทษทางอาญา และโทษปรับครับ
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

อันดับผู้ให้ข้อมูล