ในการวางโครงสร้างเงินเดือนให้กับองค์กร ต้องเริ่มต้นจากอะไร มีเกณฑ์อย่างไร และควรจัดทำโครงสร้างหรือกระบอกเงินเดือนหรือไม่ ถ้าเป็นองค์กรไม่ไม่ใหญ่มากทีพนักงานจำนวน 80 กว่าคน แต่ไม่ถึง 100 คน
หากมีจะต้องเิ่มต้นจากอะไรบ้างครับ

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

3 คำตอบ

  • มีสองคำถามในข้อเดียวกัน แยกตอบตามนี้ค่ะ

    1. ในการวางโครงสร้างเงินเดือนให้กับองค์กร ต้องเริ่มต้นจากอะไร ให้เริ่มจากการพิจารณาโครงสร้างองค์กร ได้แยกกลุ่มงาน ฝ่าย แผนก ไว้อย่างไร อะไรคือสายงานหลัก อะไรคือสายงานสนับสนุน การแบ่งระดับพนักงานปฏิบัติการ พนักงานสายวิชาชีพ สายงานบริหาร พิจารณาความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง  การแข่งขันในตลาดการจ้างงานสำหรับกิจการที่คล้าย ๆ กัน  Salary Survey(การสำรวจอัตราการจ้างงาน)เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิง

    2. ควรจัดทำโครงสร้างหรือกระบอกเงินเดือนหรือไม่ ถ้าเป็นองค์กรไม่ใหญ่มากมีพนักงานจำนวน 80 กว่าคน แต่ไม่ถึง 100 คน

    คำถามนี้ขอแชร์จากประสบการณ์ตรงค่ะ ซึ่งมีหลายองค์กรที่เข้าไปให้คำปรึกษา องค์กรเล็กที่มีพนักงาน 80-100 ไม่ต้องจัดทำโครงสร้างเงินเดือน แค่จัดระดับกลุ่มพนักงานไว้ซัก 2 กลุ่ม คือกลุ่มปฏิบัติการ กลุ่มหัวหน้างาน มีการกำหนดค่า Max. Min. ตามกลุ่มงาน ระดับทักษะ  โดยค่า Min.ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ การทำงานด้าน HR ขอให้ยึดหลักผลประโยชน์ต่างตอบแทน และหลัก P for P (Pay for Performance) 

    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • Poonsawat Keawkaitsakul
    Poonsawat Keawkaitsakul
    18 กันยายน 2021 22:00 น.
    การวางโครงสร้างเงินเดือนไม่ว่าองค์กรเล็กหรือใหญ่เป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะถ้าองค์กรไม่มีโครงสร้างเงินเดือนจะเกิดปัญหาความขัดแย้งภานในองค์กร จากการเปรียบเทียบเงินเดือนขอพนักงาน ดังนั้นการกำหนดโครงสร้างเงินเดือนจึงมีความสำคัญกับองค์กรทุกขนด โดยมีขั้นตอนดังนี้
    1. การกำหนดตำแหน่งงานให้ชัดเจน ประกอบด้วย การกำหนดโครงสร้างองค์กร การกำหนดตำแหน่งงานและการกำหนดบทบาทหน้าที่ในต่าง ๆ ในองค์กร โดยถ้าสามารถกำหนดใน JD ได้จะเป็นการดีมาก
    2. การกำหนดระดับของงาน ความยาก-ง่ายของงาน (การประเมินค่างาน) ในขั้นตอนนี้องค์กรขนาดใหญ่นิยมใช้ที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วย แต่ในองค์กรขนาดเล็กอาจกำหนดง่าย ๆ ตามระดับของพนักงาน เช่น ระดับ 1 คือ แม่บ้าน คนสวน ระดับ 2 คือ คนขับรถ พนักงานธุรการที่มีลักษณะงานง่าย ๆ ระดับ 3 คือ พนักงานผีมือ โดยการจัดระดับงานอาศัยความยาก-ง่ายของงานเป็นหลัก และต้องไม่ฝืนต่อความรู้สึก
    3. การหาข้อมูลอัตราเงินเดือนในแต่ละตำแหน่ง ขั้นตอนนี้สามารถหาข้อมูลจากหนังสือ หรือแหล่งข้อมูลฐานเงินเดือนต่าง ๆ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับตำแหน่งงานขององค์กรตั้งแต่ระดับ 1 จนครบทุกตำแหน่ง
    4. การกำหนดโครงสร้างเงินเดือน ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายและมีความยากที่สุด เพราะต้องนำข้อมูลเงินเดือนในระดับต่าง ๆ มาหาค่ากลาง (Mid-point) และคำนวนหาค่า Max และ Min ของเงินเดือนในแต่ละระดับจาก Excel โดยใช้ Regression Trend Line 
    5. นำเงินเดือนของพนักงานมาใส่ในกระบอกเงินเดือนที่คำนวนได้ และพิจารณาว่า ใครตกกระบอก ใครเกินกระบอก แล้วทำการปรับเงินเดือนพนักงานด้วยความเป็นธรรม
    ดังนั้นขอตอบคถามดังนี้ครับ องค์กรขนาดไดก็ตามจำเป็นต้องมีโครงสร้างเงินเดือน โดนสามารถคิดโครงสร้างเงินเดือนจากการกำหนดตำแหน่งงานที่ชัดเจนก่อน แล้วทำตามข้อ 2-5 ตามด้านบนครับ
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

หากต้องการอ่านคำตอบทั้งหมด
กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก
(ใช้เวลาไม่นานในการสมัคร)

อันดับผู้ให้ข้อมูล