ตาม พรบ.ประกันสังคม พนักงานจะสามารถได้รับสิทธิประโยชน์กรณีเงินเกษียน(บำเหน็จ/บำนาญ)อายุก็ต่อเมื่อ อายุครบ 55 ปีขึ้นไป
กรณีที่ พนักงานออกจากงานแล้วมีอายุไม่ถึง 55 ปีแล้วยังไม่มีความต้องการกับเข้าสู่ระบบการทำงานเป็นลูกจ้างตามความเห็นแนะนำให้เนินการตามนี้
1. ยังสามารถใช้สิทธิผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หลังจากออกจากงานได้อีก 6 เดือน ซึ่งสามารถใช้สิทธิการรักษาพยาบาลได้ตามเติม
2. เมื่อออกจากงานแล้วให้ไปขึ้นทะเบียนว่างงานเพื่อขอรับเงินชดเชยการว่างงาน(ตามแต่กรณีลาออก/ถูกเลิกจ้าง/ฯลฯ)
3. ประมาณเดือนที่ 5 ก่อนครบกำหนดเดือนที่ 6 ให้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ซึ่งต้องจ่ายเงินสมทบด้วยตนเอง เพื่อให้ยังสามารถรับการรักษาสิทธิการเป็นผู้ประกันตนไว้ เพราะถ้าขาดจากสิทธิการเป็นผู้ประกันตนแล้วจะไม่สามารถกลับเข้าสู่สถานะผู้ประกันตนได้อีก
- กรณีที่ไม่ต้องการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ก็อาจจะใช้สิทธิสมัครเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 40 ก็ได้ โดยจะได้รับสิทธิการรักษาบัตรทอง
(การคงสถานสิทธิ์ประกันสังคมไว้ ตามมาตรา 39,40
จะได้รับผลประโยชน์กรณีที่ถึงแก่กรรมอีกด้วย และยังมีผลประโยชน์อื่นที่นอกเหนือจากสิทธิบัตรทองด้วยครับ)
4. เมื่ออายุครบ 55 ปี แล้วค่อยมาติดต่อประกันสังคมขอรับเงินเกษียณอายุ(บำเหน็จ/บำนาญ)
ทั้งนี้ เป็นความคิดเห็นของผมเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งผู้ที่ออกจากงานมาแล้วอาจจะต้องพิจารณาว่าเหมาะสมกับตนเองหรือไม่
ท่านสามารถไปศึกษาข้อมูลสิทธิประโยชน์ประกันสังคมเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th