พนักงานไม่ยินยอมฉีดวัคซีนทำอย่างไรดีครับ ?

มาม่าและปลากระป๋อง
มาม่าและปลากระป๋อง
20 พฤษภาคม 2021 20:15 น.
ถ้าพนักงาน ไม่ขอรับการฉีดวัคซีน สามารถเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่ครับ สามารถอ้างเรื่องการทำความเสียหายให้นายจ้างได้หรือไม่ ทางออกของเรื่องนี้คืออะไร

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

3 คำตอบ

  • Sanpob Pornwattanakij
    Sanpob Pornwattanakij
    24 พฤษภาคม 2021 21:55 น.
     การเข้ารับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ถือเป็นการเข้ารับการบริการสาธารณสุขอย่างหนึ่ง ซึ่งถือเป็นสิทธิของประชาชน หาใช่เป็นหน้าที่ของประชาชน

    นายจ้างไม่สามารถบังคับให้ลูกจ้างฉีดวัคซีน โดยที่ลูกจ้างไม่ยินยอม

    สิ่งที่นายจ้างควรทำ คือ การสร้างความตระหนักรู้และความสำคัญของการฉีดวัคซีนว่า จะเป็นประโยชน์ต่อตัวลูกจ้างท่านนั้น เป็นประโยชน์กับเพื่อนร่วมงาน และเป็นประโยชน์กับองค์กรอย่างไร

    การที่ลูกจ้างไม่ยินยอมฉีดวัคซีน ไม่ถือว่าเป็นการกระทำความผิดวินัยของลูกจ้าง หรือเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง ที่นายจ้างจะใช้สิทธิเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย

    กรณีที่นายจ้างทราบว่าลูกจ้างติดโควิด นายจ้างอาจตกลงกับลูกจ้างให้ใช้สิทธิการลาป่วย หรือการหยุดพักผ่อนประจำปี เพื่อเป็นการป้องกันปัญหามิให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคได้

    แต่หากลูกจ้างเมื่อทราบว่าติดโควิด แล้วไม่แจ้งนายจ้าง หรือ นายจ้างสั่งให้หยุดทำงานแล้ว แต่ยังฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้าง

    หากเกิดความเสียหายแก่กิจการ เช่น มีการแพร่เชื้อโควิดไปยังพนักงานคนอื่น อาจเข้ากรณีจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ที่นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย


    หากนายจ้างเลิกจ้างงาน เพราะเหตุลูกจ้างติดเชื้อโรคไวรัสโควิด-19 หรือสงสัยว่างติดเชื้อ ย้ำตรงนี้ว่า มิได้ ถือเป็นความผิดร้ายแรงที่เกิดจากการกระทำของลูกจ้าง เพราะการเจ็บป่วยเป็นเหตุที่เกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติ มิใช่การกระทำผิดวินัยของลูกจ้าง และเป็นการติดเชื้อจากโรคระบาดที่แพร่กระจายในวงกว้าง ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • Apinun Ruddist
    Apinun Ruddist
    21 พฤษภาคม 2021 17:11 น.
    กรณีนี้ ทางออกที่เหมาะสมควรจะเป็นการพูดคุย เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันน่าจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวพนักงานเอง และบริษัทมากกว่าครับ เพราะหากเราพิจารณาจากสถานการณ์ในปัจจุบันแล้ว การที่พนักงานไม่ขอรับการฉีดวัคซีน อาจจะมีปัจจัยในหลายๆด้าน เช่น ครบครัวของพนักงาน ปัญหาสุขภาพร่างกาย ความเชื่อและการเสพข่าวสารต่างๆ เป็นต้น 

    ดังนั้นก่อนที่จะไปถึงขั้นของการเลิกจ้าง บริษัทควรจะทำความเข้าใจกับพนักงานทุกคนในระดับเดียวกัน สื่อสารให้ชัดเจนถึงความจำเป็นที่บริษัทต้องให้พนักงานทุกคนฉีดวัคซีน ตลอดจนประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับจากกาฉีดวัคซีน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน และรับทราบว่าหากพนักงานไม่ฉีดวัคซีนตามประกาศของบริษัท ซึ่งมีผลบังคับใช้ถูกต้องตามกฎหมายแล้วนั้น หากพนักงานที่ไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ และติดโควิดขึ้นมา บริษัทจะพิจารณาการลงโทษทางวินัยตามข้อบังคับของบริษัทต่อไป

    แต่ทั้งนี้ หากจะพิจารณาเพียงการไม่ขอรับการฉีดวัคซีน และจะลงโทษเลิกจ้างโดยไม่จ่ายชดเชยเลยในทันที โดยที่ยังไม่มีการติดเชื้อโควิด หรือยังไม่มีผลกระทบที่เกิดขึ้นกับบริษัทอย่างชัดเจน ก็อาจจะเป็นช่องโหว่ที่ให้พนักงานสามารถนำไปฟ้องร้องต่อศาล ถึงการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้ครับ
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • บุษรา คุปกาญจนา
    บุษรา คุปกาญจนา
    21 พฤษภาคม 2021 17:02 น.
    ไม่ขอรับการฉีดวัคซีน สามารถเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่ .... ไม่สามารถทำได้ค่ะ 

    กระแสการฉีดวัคซีนต้านโรค COVID19 กำลังมาแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรัฐบาลสนับสนุนให้หน่วยงานประกันสังคมประกาศนโยบายเชิงรุกให้กับผู้ประกันตนในสถานประกอบการต่างๆทำแบบสอบถามความสมัครใจในการฉีดวัคซีนยิ่งทำให้เจ้าของกิจการทั้งหลายมีความประสงค์ให้ลูกจ้างของตนเองได้รับวัคซีน แต่ก็คงจะติดอยู่ที่ยี่ห้อของวัคซีนที่มีชื่อเสียงในทางลบกับร่างกายของผู้ที่ได้รับวัคซีนก่อนหน้านี้จึงทำให้พนักงานกล้าๆกลัวๆที่จะลงชื่อรับ ทำให้มีข้อสงสัยในเรื่องของการลงโทษพนักงานที่ไม่ประสงค์รับวัคซีนว่าในฐานะนายจ้างทำอย่างไรได้บ้าง ขอตอบในมุมของ HR ดังนี้ค่ะ 

    ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองกฎหมายแรงงาน มาตรา119 ที่ระบุสถานของความผิดในการเลิกจ้างพนักงานได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย โดยมีเหตุแห่งการนำไปสู่การเลิกจ้างแบบนี้ 6 ประเภทคือ 
    1. ทุจริตในหน้าที่ หรือทำความผิดทางอาญาแก่นายจ้าง 
    2. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 
    3. กระทำการประมาทเลินเล่อจนนายจ้างได้รับความเสียหาย 
    4. ฝ่าฝืนข้อบังคับของนายจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย 
    5 ละทิ้งการปฎิบัติหน้าที่เกิน 3 วันขึ้นไป 
    6. ได้รับการพิพากษาลงโทษจำคุกให้ถึงที่สุดกฎหมาย 

    เมื่อพิจารณาจากความผิดทางด้านบนแล้วจะพบว่าพนักงานที่ไม่ขอรับวัคซีนมิได้กระทำผิดตามเหตุแห่งการเลิกจ้าง 6 ประการตามด้านบน อีกทั้งรัฐบาลเองก็ไม่ได้ออกกฎหมายบังคับหรือมีบทลงโทษพนักงานหรือนายจ้างที่แสดงความจำนงค์ไม่ประสงค์รับวัคซีน เพียงแต่ประกาศให้เป็นนโยบายแห่งชาติเพื่อหวังพัฒนาเศรษฐกิจให้เดินหน้า เมื่อเป็นเช่นนี้ในฐานะ HR และนายจ้างที่ตระหนักถึงความร้ายแรงของโรคติดต่อนี้ในเรื่องของการแพร่กระจายเชื้อในสถานทีทำงานจึงอยากให้พนักงานได้รับวัคซีนกันทุกคนซึ่งถ้ามีการระบาดในที่ทำงานก็จะต้องปิดกิจการชั่วคราวหรือกักตัวจะทำให้ธุรกิจเสียหายได้แต่ทั้งหากมีกรณีนี้เกิดขึ้นก็ไม่อาจจะระบุตัวของพนักงานได้ว่า พนักงานคนนี้ที่ไม่ได้รับวัคซีนเป็นผู้กระจายเชื้อภายในองค์กร เพราะตามการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า การฉัดวัคซีนมิได้ทำให้ไม่ติดเชื้อไวรัสแต่เป็นการบรรเทาความร้ายแรงของไวรัสที่จะเข้าสู่ร่างกายและทำลายปอดซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตเท่านั้น 

    เมื่อเป็นดังนี้บริษัทอาจจะใช้วิธีการรณรงค์ขอความร่วมมือในการรับวัคซีน โดยอาจเผยแพร่ข่าวสารความรู้เกี่ยวกับข้อดีของการฉีดวัคซีน พร้อมทั้งสิ่งที่สามารถจูงใจพนักงานได้ว่าผลข้างเคียงเมื่อเทียบกับผู้ที่ได้รับอันตรายจากวัคซีนมีอัตราส่วนน้อยมากค่ะ 


    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

อันดับผู้ให้ข้อมูล