บริษัทมีสิทธิ์ยกเลิกสัญญาในกรณีจ้างฟรีแลนซ์ตามกำหนด 6 เดือน ได้หรือไม่ ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ ?

บริษัทว่าจ้างฟรีแล้นซ์ ในกำหนด 6 เดือน (จ่ายรายเดือน) แต่พบว่าในเดือนที่ 4 (วันที่ 95) บริษัทไม่มีงานที่ต้องส่งให้ทำ ดังนั้นนายจ้างต้องการยกเลิกสัญญา ณ วันที่ยังไม่ครบ 120 วัน แบบนี้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใช่หรือไม่

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

5 คำตอบ

  • การจ้างฟรีแล้นซ์ 6 เดือน หากบริษัท จัดทำเป็น สัญญจ้างงาน กรณีที่เกิน 119 วัน ต้องจ่ายค่าชดเชย และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า

    แต่หากจัดทำเป็น สัญญาจ้างทำของ คือการยึดผลสำเร็จของงานเป็นหลัก ก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย 
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • ดร.พลกฤต  โสลาพากุล
    ดร.พลกฤต โสลาพากุล
    28 มกราคม 2022 22:21 น.
    มีสิทธิทำได้ครับ
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • ดร.พลกฤต  โสลาพากุล
    ดร.พลกฤต โสลาพากุล
    24 พฤศจิกายน 2021 22:38 น.
    ต้องกลับไปดูที่สัญญาจ้าง ว่าเขียนไว้อย่างไรด้วยครับ
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

  • นายจ้างสามารถทำได้ในการยกเลิกสัญญาจ้างก่อนกำหนด แต่นายจ้างต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าก่อน 30 วัน หรือ รอบก่อนการจ่ายเงินเดือน 1 เดือน
    .
    ตามพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสองและวรรคสี่ ซึ่งเป็นวรรคที่กำหนดให้ การเลิกสัญญาจ้างลูกจ้าง จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้า หรือหากไม่บอกกล่าวล่วงหน้าก็ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น
    .
    ไม่มีข้อความตรงไหนที่ยกเว้นให้ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อเลิกจ้าง ลูกจ้างที่อยู่ระหว่างทดลองงานเลย ในเมื่อกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ จะไปตีความว่าทำได้ และให้สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้นั้น ศาลท่านก็ถือว่าสัญญานั้นเป็นโมฆะ เพราะขัดกับ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 ตามที่กล่าวมาดังนั้น
    .
    ในกรณีนี้ นายจ้างบอกลูกจ้างในวันที่ 95 ไม่ใช่วันที่ 90 (ล่วงหน้า 1เดือน) ฉะนั้นนาย ต้องจ่าย ค่าบอกกล่าวล่างหน้าเป็น 2 เดือน เพราะนายจ้างไม่บอกกล่าวล่วงหน้าในรอบ 1 เดือน ให้กับลูกจ้าง
    .
    ประเด็นต่อมา สัญญาระบุว่าจ้างงาน 6 เดือน ถ้าบริษัทมีการทำสัญญาจ้างระบุวันที่จ้างงานกับลูกจ้างอย่างชัดเจนแล้ว แม้ว่าจะบอกเลิกจ้างล่วงหน้า 1 เดือน แต่ในสัญญาจ้างระบุ 6 เดือน ดังนั้นลูกจ้าง สามารถเอาผิดนายจ้าง เรื่องการผิดสัญญาจ้างที่ศาลแรงงานได้ บริษัทจึงควรอธิบายลูกจ้างให้เข้าใจก่อนสิ้นสุดการจ้างงาน มิเช่นนั้นอาจจะเกิดปัญหาตามมาได้

    .
    .
    .
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • ก่อนที่จะวินิจฉัยว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายให้กับลูกจ้างหรือไม่นั้น
    ประการแรก อยากให้ทำความเข้าใจและแยกให้ได้ระหว่างสัญญาจ้างแรงงานกับสัญญาจ้างทําของก่อนครับ

    โดยสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา575 บัญญัติว่า "อันว่าจ้างแรงงานนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้"

    ส่วนสัญญาจ้างทำของ  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 บัญญัติว่า "การว่าจ้างทำของนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้างตกลงรับจ้างทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ว่าจ้างและผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น"

    ซึ่งหลักเกณฑ์ที่สำคัญในการพิจารณาว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่ คือ การจ้างแรงงาน นายจ้างจะต้องมีอำนาจในการบังคับบัญชาลูกจ้างได้ ลูกจ้างจะต้องอยู่ในกฎระเบียบ มีกำหนดเวลาเข้างานที่แน่นอน สามารถถูกลงโทษได้หากกระทำผิดระเบียบข้อบังคับ 

    ส่วนการจ้างทำของ จะยึดถือผลสำเร็จของงานที่ทำเป็นสำคัญ (งานเสร็จตามตกลงเป็นอันจบแยกย้ายกันไป) ผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจจะบังคับบัญชาลูกจ้างได้อย่างสัญญาจ้างแรงงาน ยกตัวอย่าง เช่น การจ้างฟรีแลนซ์ให้เขียนโปรแกรม แจ้งผู้รับเหมาก่อสร้างบ้าน เป็นต้น

    จากคำถามได้ความชัดเจนครับว่า 
    บริษัทจ้างลูกจ้างเป็นพนักงาน freelance ซึ่งการจ้างฟรีแลนซ์ ถือเป็นการจ้างทำของชนิดหนึ่ง โดยมุ่งผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ ไม่ใช่การจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 575 และคู่สัญญาไม่อยู่ในฐานะนายจ้าง ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ 2541 

    ดังนั้นแล้ว จึงไม่อาจนำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาใช้บังคับกับคู่สัญญาได้ 

    เมื่อไม่นำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานมาใช้บังคับ ลูกจ้างจะทำงานมากี่วันก็ไม่สำคัญ เพราะไม่ว่าจะทำงาน 1 ปี 5 ปี 10 ปีหรือ 20 ลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับค่าชดเชย

    บทสรุป การที่นายจ้างยกเลิกสัญญา ขณะทำงานได้ 95 วัน  นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใดๆให้กับลูกจ้าง เพราะไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงานและไม่มีความสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างลูกจ้างกันตามกฎหมายแรงงานครับและขอแถมว่า หากมีกรณีพิพาท ลูกจ้างไม่พอใจเพราะถูกยกเลิกสัญญาก่อนกำหนด ต้องไปฟ้องร้องขึ้นศาลแพ่ง ไม่ใช่ศาลแรงงานครับ
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

อันดับผู้ให้ข้อมูล