หากพนักงานต้องการลาออกล่วงหน้า 1 เดือน แต่นายจ้างอยากให้ออกเร็วกว่านั้นได้ไหมคะ ?

อยากให้ไขข้อกระจ่างเรื่องนึงคะ กรณีพนักงานต้องการลาออก 1 เดือนล่วงหน้า แต่นายจ้างเห็นว่า ไม่ต้องรอถึง 1 เดือน และต้องการให้ออกเร็วกว่านั้น แบบนี้แล้วทางบริษัทต้องจ่ายเงินชดเชยและแจ้งออกกับทางประกันสังคมว่าอย่างไร (ลาออกเอง หรือให้ออก) บริษัทจัดหางานมักจะทำแบบนี้ จึงอยากให้ทางพี่อ้อ ช่วยไขข้อข้องใจให้พนักงานด้วยคะ ขอบคุณคะ

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

3 คำตอบ

  • ดร.พลกฤต  โสลาพากุล
    ดร.พลกฤต โสลาพากุล
    22 ตุลาคม 2021 22:05 น.
    ทำได้แต่ต้องจ่ายค่าชตกใจ 1 เดือน และค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงงาน มาตรา118 หมวด11 ค่าชดเชย
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • ในกรณีนายจ้างเลิกจ้างแล้วนายจ้างแจ้งให้พนักงานไม่ต้องมาทำงานอีก สามารถทำได้โดยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างนายจ้างและพนักงาน แต่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฏหมายแรงงานในกรณีที่พนักงานทำงานมาเกิน 120 วัน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา118
    .
    พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน 2541 มาตรา118 หมวด11 ค่าชดเชย กำหนดให้ความคุ้มครองลูกจ้าง หากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างที่ทำงาน
    ติดต่อกันครบ 120 วันขึ้นไป
    แต่ไม่ครบ 1 ปีนายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างดังต่อไปนี้
    .
    .
    1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
    2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ3 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
    3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ6 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180วัน
    4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6ปี แต่ไม่ครบ10 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240วัน
    5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10ปี แต่ไม่ครบ20 ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน
    6) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 20ปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน
    .
    .
    ส่วนในกรณีการแจ้งออกจากประกันสังคมเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องแจ้งออกให้ถูกต้องตามกฎของประกันสังคมและช่วยรักษาผลประโยชน์ของลูกจ้างด้วย เพราะ สิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง (ผู้ประกันตนตรามาตรา 33) มีผลประโยชน์ที่ได้รับแตกต่างกัน โดยล่าสุดมีพระราชกิจจานุเบกษาของกฎกระทรวงออกมาเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ 2563 แจ้งเรื่องการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ในกรณีต่างๆ เช่น
    .
    1) ลาออกหรือสิ้นสุดการเลิกจ้าง
    2) ถูกเลิกจ้าง
    3) รัฐบาลสั่งปิดกิจการชั่วคราว
    4) สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อหรือเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคระบาด ต้องกักตัวเองที่บ้าน หรือที่โรงพบาบาล
    5) นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ
    6) นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ เนื่องจากลูกจ้างสุ่มติดเชื้อ COVID-19
    .
    .
    .
    จำนวนเงินชดเชยที่จะได้รับ จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันตามกรณีต่างดังต่อไปนี้
    1) นายจ้างไม่ให้ทำงานหรือต้องกักตัว 14 วัน ผู้ประกันตนจะได้รับเงินกรณีว่างงาน 62 % ของค่าจ้างไม่เกิน 90 วัน

    2) หน่วยงานภาครัฐสั่งหยุดกิจการชั่วคราว ผู้ประกันตนจะได้รับเงินกรณีว่างงาน 50 % ของค่าจ้างไม่เกิน 60 วัน

    3) ว่างงานจากการลาออก ผู้ประกันตนจะได้รับเงินกรณีว่างงาน 45% ของค่าจ้างไม่เกิน 90วัน

    4) ว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ผู้ประกันตนจะได้รับเงินกรณีว่างงาน 70 % ของค่าจ้างไม่เกิน 200 วัน
    .
    จากจำนวนเงินชดเชยดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ถ้ากรณีถูกเลิกจ้าง ผู้ประกันตนจะได้รับเงินกรณีว่างงานถึง 70% ของค่าจ้างไม่เกิน 200 วัน ซึ่งแตกต่างจากการว่างงานจากการลาออกเป็นอย่างมากทั้งจำนวนเงินที่ได้และระยะเวลาที่ได้รับ ซึ่งจะทำให้ลูกจ้างได้รับผลประโยชน์ที่ต่างกัน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ที่ฝ่ายบุคคลของแต่ละบริษัทต้องแจ้งเหตุผลในการลาออกของพนักงานให้ถูกต้องตามความเป็นจริงกับสำนักงานประกันสังคม เพื่อรักษาผลประโยชน์ให้กับพนักงานเองในกรณีเลิกจ้าง
    .
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • เรื่องนี้ตอบได้ไม่ยากครับ การที่ลูกจ้างมีความประสงค์จะลาออก สิ้นสุดนิติสัมพันธ์การเป็นนายจ้างลูกจ้าง แต่นายจ้างประสงค์ให้ออกก่อน วิธีดำเนินการก็เพียงให้นายจ้าง จ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้างถึงวันที่ลูกจ้างประสงค์ให้การลาออกมีผลครับ เท่านี้ก็ตัดปัญหาที่จะตามมาแล้ว และไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างอีกด้วย แต่ข้อควรระวังและเป็นสิ่งที่นายจ้างตกม้าตายมานักต่อนัก คือ ไปทำหนังสือให้ลูกจ้างสิ้นสุดงานก่อนกำหนดที่ลูกจ้างประสงค์ให้การลาออกมีผล การทำอย่างนี้ ถือว่า เป็นการที่นายจ้างเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายครับ  
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

อันดับผู้ให้ข้อมูล