ขอตัวอย่างแนวคิดการสร้างความเป็น Teamwork ให้พนักงานในบริษัทมีการร่วมมือร่วมใจกัน ไม่เกี่ยงงาน

ถ้ามีการยกเคสตัวอย่างให้ด้วยจะดีมากค่ะ อยากลองเอาไปประยุกต์ใช้

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

1 คำตอบ

  • Napat Sanguankaew
    Napat Sanguankaew
    22 มีนาคม 2021 15:59 น.
    บนเว็บไซต์  HR NOTE.asia มีบทความที่ดีมากๆ อยู่อันหนึ่งเกี่ยวกับแนวคิดในการสร้าง  Collaboration Working Team ที่เขียนโดยคุณ ชัญญชิตา ศรีชัย หนึ่งใน HR NOTE expert network ของเรา ผมเลยอยากขอหยิบบางส่วนของเนื้อหามาให้ได้อ่านกันด้านล่างนี้นะครับ
    ---
    แนวทางสำคัญที่จะสร้าง Collaboration Working Team ให้เกิดขึ้นได้คือ U N I T E D
    ในฐานะ Business Partner HR ต้องสามารถเป็นที่ปรึกษาและแนะนำแนวทางให้ผู้บริหารเข้าใจ หลักการ UNITED  เพื่อที่จะดำเนินการสร้างการทำงานแบบ Collaborative working team ให้เกิดขึ้นในองค์กร ซึ่ง UNITED ประกอบไปด้วย

    U – Understand องค์กรต้องสร้างให้คนทำงานเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง หน่วยงานของตน และหน่วยงานอื่นๆ รวมทั้งเข้าใจสภาพธุรกิจขององค์กร กลยุทธ์ร่วม แผนงาน นโยบาย อีกทั้งเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นรอบด้านทั้ง สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวพันกับภาพรวมขององค์กร ปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไข เข้าใจบทบาทตนเองในการทำงานที่สามารถทำให้องค์กร บรรลุผลตามเป้าหมายหลักที่ตั้งไว้ได้ ทั้งนี้ต้องสร้างระบบการสื่อสารที่ชัดเจน ทั่วถึง เข้าได้ถึง และสื่อสารสองทาง เพื่อทำให้ความเข้าใจนั้นลึกถึงขั้นตระหนักรู้นำไปสู่ Action ที่จำเป็นได้

    N – Network องค์กรต้องปรับตัวไปสู่รูปแบบการทำงานมีเครือข่าย ต้องสร้างระบบ System ที่มีรูปแบบการทำงานหรือ Plateform แบบเครือข่ายที่โยงใยแต่ละส่วนเชื่อมโยงกัน มีขั้นตอนที่ง่ายต่อการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน รายงานผล ติดตาม progress ของงาน หรือ project ที่แต่ละส่วนงานทำงานร่วมกัน อันจะส่งเสริมให้แต่ละหน่วยงานสามารถทำงานร่วมกันได้อย่าง รวดเร็ว คล่องตัว ลงตัว และ ง่ายต่อการใช้  ทำให้สามารถเห็นการทำงานทั้งภายในทีมและcross functional team สามารถทำงานอย่างรวดเร็ว ปรับเปลี่ยน แก้ไขปัญหาได้ ตอบสนอง Customer ได้ทันท่วงที

    I –  Inside relation องค์กรต้องดูแล ส่งเสริม สร้างวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ภายในที่ดีของคนในองค์กร ทั้ง สร้างความสัมพันธ์ให้ดีจากภายในทีม และระหว่างทีม จัดกิจกรรมที่สามารถตอบสนองความต้องการคนในองค์กรได้ เติมเต็มสิ่งที่คนทำงานต้องการให้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างความพึงพอใจในการทำงาน ทำให้เกิดความผูกพัน Engage ต่อกันและต่อองค์กร  เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทีม เกิดการสื่อสารและความรู้สึกเชิงบวกในการทำงานในองค์กร การบริหารความสัมพันธ์ที่ดีเป็นหัวใจหลักที่จะทำให้การทำงานแบบ Collaboration นั้น สัมฤทธิ์ผล

    T – Teamwork รักษาและดูแลให้คนทำงานมีใจในการทำงานแบบเป็นทีม โดยไม่ยึดเอาตนเองเป็นหลัก หรือยึดการทำงานเฉพาะหน่วยงาน สามารถโอนอ่อนผ่อนตาม ช่วยเหลือเอื้ออาทรต่อกันกันเพื่อให้งานสำเร็จ สามารถเป็นผู้เล่นในหลายบทบาท ที่ปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ทำให้ Teamwork แข็งแกร่ง เพื่อทำให้การทำงานนั้นเกิดผลสำเร็จ โดยยึดถือเป้าหมายหลักขององค์กรเป็นสำคัญ

    E – Energize สร้างระบบการให้พลังใจ พลังในการทำงานภายในองค์กร สร้างแรงกระตุ้นในการปฏิบัติงานในรูปแบบต่างๆ ทำให้เกิดแรงผลักดันจากภายใน การยกย่อง ชมเชย การขื่นชมให้คุณค่า เพื่อนำไปสู่ขวัญ กำลังใจที่ดีในการทำงาน ทำให้มีความต้องการจะสำเร็จในงานร่วมกัน ความผูกพันองค์กร รวมไปถึงสร้างระบบ Performance ที่มีการ energize การทำงานร่วมกัน กำหนดผลสำเร็จของงานที่มีทั้ง Individual Performance ,Team Performance และ Cross functional Team Performance   ( Network Performance ) โดยให้น้ำหนักแต่ละส่วนตามหน้าที่ ความรับผิดชอบ ด้วยระบบประเมินผลนี้ คนทำงานจะตระหนักว่า ความสำเร็จหลักขององค์กร เกิดขึ้นจากทั้งตนเอง ทีม และ การทำงานร่วมกันของทั้งองค์กร แบบ Collaboration Team

    D – Direction องค์กรต้องมีแนวทางที่ชัดเจน และสื่อสารออกไป โดยมีแผนงานที่คนทำงานทุกคนสามารถสามารถมีส่วนร่วมในการออกความคิดเห็น และนำเสนอแนวคิดได้อย่างสร้างสรรค์ อันจะนำไปสู่ความรู้สึกมี Ownership และ Accountability ในการทำงาน การเดินตามแผนการที่ร่วมกันวางไว้ และมีการวัดผลและติดตามเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง จะสามารถประเมินว่า แนวทางไหนเหมาะสม และแนวทางไหนควรปรับเปลี่ยน เพื่อนำไปสู่เส้นทางที่เหมาะสม ประหยัดและคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรต่างๆมากที่สุด
    ---
    โดยในตัวบทความฉบับเต็ม  คุณชัญญชิตา ศรีชัย ได้ยกตัวอย่างของการนำไปใช้จริงจากเคสขององค์กรในประเทศไทยทั้งสามแห่งทั้ง CPF หรือ บมจ. เจริญโภคภัณฑ์, DTAC,เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และบริษัท วงใน มีเดีย จำกัด (Wongnai) ไว้อย่างค่อนข้างละเอียดเลยล่ะครับ หากอยากบริษัทและทีมงานในแผนกของท่านให้มีความ Collaborate กันมากขึ้นถือว่าควรค่าแก่การอ่านมากๆครับ
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

อันดับผู้ให้ข้อมูล