การรับงานเสริมนอกเวลางานและเป็นงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจกับงานหลักถือว่าผิดกฎหมายแรงงานไหมครับ
สอบถามครับ การรับงานเสริมนอกเวลางานและเป็นงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจกับงานหลักถือว่าผิดกฎหมายแรงงานไหมครับ
2 คำตอบ
- Silada Chumwaengvapee29 มีนาคม 2021 12:30 น.ไม่ผิดกฎหมายแรงงานค่ะ ถ้าไม่ขัดกับผลประโยชน์ของบริษัทนายจ้าง และต้องไม่ทับซ้อนกับเวลางานตามสัญญาจ้างของลูกจ้างและนายจ้างหลักตามมาตรา 23 (มาตรา 23 ให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทำงานของแต่ละประเภทงาน ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่วันหนึ่งต้องไม่เกิน8ชั่วโมงและเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน48ชั่วโมง) ในสัญญาจ้างอาจมีข้อที่ระบุถึงการทำงานอื่นใดที่ไม่ใช่ของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่สามารถกำหนดชัดเจนว่า ห้ามทำงานใดๆก็ตามนอกเวลางาน แต่จะระบุเพียงห้ามรับงานอื่นใดที่ขัดผลประโยชน์ของบริษัทนายจ้างเอง เช่น การรับงานจากบริษัทคู่แข่ง หรือเป็น freelancer รับงานแบบเดียวกับที่ทำให้นายจ้าง
สิ่งที่ใช้ประเมิณการขัดผลประโยชน์ของบริษัทนายจ้าง เช่น ประเภทอุตสาหกรรม ประเภทสินค้า ประเภทของกลุ่มลูกค้า และที่สำคัญที่สุดคือ ประสิทธิภาพในงานที่ทำให้นายจ้างในเวลาทำงาน
เช่น ถ้าลูกจ้างทำงานใน Recruitment Agency แห่งหนึ่ง และได้ยินยอมในสัญญาจ้างของบริษัทที่ห้ามรับงานนอกเวลาที่ขัดต่อผลประโยชน์ของบริษัท กำหนดเวลาปฏิบัติงานคือ 9.00 - 18.00 น. ลูกจ้างไปรับงานขับรถมอเตอร์ไซต์ส่งอาหารให้กับบริษัท delivery service แห่งหนึ่ง เป็นงาน part time ในช่วงหลังเลิกงานจนถึงเที่ยงคืน และลูกจ้างสามารถพักผ่อนเพียงพอที่จะกลับมาทำงานให้กับบริษัท Recruitment Agency ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำผลงานไม่น้อยกว่าเดิมในเวลา 9.00-18.00 น.ได้ ลูกจ้างไม่ผิดค่ะ แต่ถ้าลูกจ้างรับงานสรรหาบุคลากรแบบ freelance ไม่ว่าจะจากลูกค้าของบริษัทหรือลูกค้าที่ไม่ได้เป็นลูกค้าของบริษัท ก็ถือว่าผิดสัญญากับบริษัท Recruitment Agency ที่เราสังกัด เป็นต้น
เคยมีกรณีนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยเรา จากข้อมูลของทนายความแรงงาน by เนตินรา จากคำพิพากษาฎีกา1253/2526 แม้นายจ้างจะรับทราบการทำงาน part time และพิจารณาเลิกจ้าง ศาลตัดสินว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมค่ะ เรื่องราวฉบับเต็มสามารถอ่านได้ที่
https://www.facebook.com/labourlawthai/posts/6080707463491580ขอบคุณสำหรับข้อมูลนราธิป ฤทธินรารัตน์ (NetiNara Law office)15 มีนาคม 2021 14:03 น.คำถามนี้น่าสนใจครับ เรื่องนี้ต้องพิจารณาจากกฎระเบียบบริษัทเป็นสำคัญ เพราะการเป็นลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน ลูกจ้างจะต้องทุ่มเทเวลาทำงานให้กับบริษัท การที่ลูกจ้างรับงานนอก ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือขัดผลประโยชน์กับบริษัทนายจ้าง จะต้องไม่นำมาทำในเวลางานหรือเป็นการเบียดเบียนระยะเวลาการทำงาน ดังนั้นผมขอให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า หากไม่ขัดผลประโยชน์ และไม่เบียดเบียนเวลางานสามารถทำได้ครับ0ขอบคุณสำหรับข้อมูล
คุณเห็นด้วยกับนโยบายความเป็นส่วนตัว
และได้ศึกษาข้อตกลงในการใช้งานของ HR NOTE ก่อนเข้าใช้ระบบสมาชิก
มีบัญชีอยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบ
อันดับผู้ให้ข้อมูล
ขออภัยในความไม่สะดวก
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนทำรายการต่อไป
มีบัญชีอยู่แล้ว?เข้าสู่ระบบ