หัวหน้าที่ดีนั้นควรมีลักษะอย่างไร เพราะเห็นหลายองค์กรมักจะมีปัญหาเรื่องการพัฒนาหัวหน้างาน

หัวหน้าที่ดีนั้นควรมีลักษะอย่างไร เพราะเห็นหลายองค์กรมักจะมีปัญหาเรื่องการพัฒนาหัวหน้างาน บางครั้งก็อบรมกันเรื่องนี้ทุกปี สรุปแล้วอบรมไป แล้วสามารถพัฒนาจริงหรือ และการอบรมก็จะเป็นวิทยากรคนเดิม ทุกๆปี แบบนี้คนที่เป็น HR ควรมีแนวทางในการปรับเปลี่ยนการพัฒนาหัวหน้างานอย่างไร เอาเป็นว่าให้พัฒนาได้จริงๆ ควรทำอย่างไรครับ

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

3 คำตอบ

  • Kook A.
    Kook A.
    08 กันยายน 2021 23:41 น.
    หัวหน้างานที่ดีในมุมมองคือคนที่มีทักษะในการบริหารคน และ บริหารงาน และสิ่งที่คิดว่าสำคัญในการสร้างหัวหน้างานที่ดีคือการเตรียมความพร้อมให้กับคนที่จะมารับตำแหน่งค่ะ เช่น เตรียม successor พัฒนาทักษะ skill ด้านบริหารคนไว้เบื้องต้น วาง career path ในการเรียนรู้งานที่เกี่ยวข้องและจำเป็นกับงานที่ต้องดูแลรับผิดชอบในอนาคต เพราะถ้าให้รับตำแหน่งโดยไม่มีการเตรียมความพร้อมให้พนักงานตั้งแต่ต้น การพัฒนาหลังรับตำแหน่งมองว่าอาจจะไม่ทัน และบางครั้งจะโทษพนักงานก็อาจจะไม่ถูก หากบริษัทไม่ได้ groom เค้าอย่างดีเพื่อให้เติบโตค่ะ เหมือนอยู่ดีๆ ก็ถูกบังคับให้โตเลย บางคนอาจจะไม่พร้อม ,,,สรุปก็คือ มองว่าต้องพัฒนาและเตรียมความพร้อมให้กับคนที่มีโอกาสจะขึ้นเป็นหัวหน้างานล่วงหน้า ซึ่งจะเกิดผลดีทั้งกับลูกน้องที่ได้หัวหน้าดี และตัวหัวหน้าเองก็ไม่ suffer ด้วยค่ะ :)

     เพิ่มเติมอีกนิดคิดว่าสิ่งที่จะช่วยพัฒนา skill ของหัวหน้างานได้ดี คือ การเน้นให้หัวหน้างานเปิดใจรับฟัง feedback จากลูกน้อง เช่น เริ่มทำงานกับทีมงานใหม่สัก 1-2 เดือน อาจเรียกลูกน้องมา feedback เปิดใจว่ามีตรงไหนที่คิดว่าหัวหน้างานต้องปรับหรือแก้ไขมั้ย หรือตรงไหนทำได้ดีแล้ว หรือมีอะไรที่ลูกน้องอยากบอกหัวหน้า ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่าหัวหน้างานที่รับฟัง feedback อย่างจริงใจและนำไปปรับปรุงอย่างจริงจัง มีการพัฒนาเป็นหัวหน้างานที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดค่ะ
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • การพัฒนาหัวหน้างานมีหลากหลายวิธีตามความเห็น

    1. หัวหน้างานที่ดี ต้องจำกัดความหมายที่องค์กรต้องการออกมาก่อนว่าต้องการดีอย่างไร เช่น เก่งคน เก่งงาน เก่งคิด ซึ่งผลลัพธ์ก็จะแตกต่างกันออกไป 

    ตัวอย่าง :
     - หัวหน้างานที่ดี เนื่องจากเป็นมิตรกับลูกน้อง ไม่กล้าตักเตือนลูกน้องเมื่อลูกน้องทำผิด.....ลูกน้องจะชอบ แต่เจ้านายไม่ชอบ 
     - หัวหน้างานที่ดี เนื่องจากมีความเข้มงวดในการทำงาน มีการว่ากล่าวตักเตือนลูกน้องเมื่อไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน..........ลูกน้องไม่ชอบ แต่เจ้านายชอบ

    ทั้งสองตัวอย่างนี้เป็นพฤติกรรมเพียงแค่บางประการที่ ทำให้ในมุมมองของพนักงานหรือผู้บริหารจะก็มีความเห็นที่แตกต่างกันไป
    ขึ้นอยู่ว่าคำว่าหัวหน้างานที่ดี ในองค์กรนั้น ๆ ต้องการในเรื่องอะไร และจะต้องดีในเรื่องไหน???


    2. ควรมีการทำ Competency ของแต่ละตำแหน่ง  ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) คุณลักษณะ (Attributes) หรือคุณสมบัติอื่น ๆ ที่องค์กรต้องการ ว่าในแต่ละตำแหน่งงานต้องการในระดับใด เรื่องใด

     - Core Competency 
         คือ สมรรถนะหลัก หรือ พฤติกรรมหลัก หรือ พฤติกรรมร่วมขององค์กรหรือหน่วยงาน หรือ บริษัทนั้น ๆ ที่เค้าต้องการให้พนักงานหรือคนในองค์กรแสดงออกมา และเวลาหาคน หรือ รับสมัครคน หรือ พนักงานแล้ว ส่วนใหญ่องค์กร หรือ หน่วยงาน หรือ บริษัท จะโฟกัสในส่วนของ  หรือ พฤติกรรมหลักนี่แหละ ซึ่งเราจะกล่าวถึงในถัดไป

     - Function Competency หรือ Technical Competency
         คือ สมรรถนะ หรือ ความรู้ ความสามารถ ศักยภาพของคน หรือ พนักงานที่ต้องการในงานนั้น ๆ ซึ่งก็จะต้องการความรู้ความสามารถหรือสมรรถนะ ที่แตกต่างกัน เช่น ฝ่ายขาย ก็จะ Technical Competency แตกต่างกับ ฝ่ายซ่อมบำรุง ซึ่งความแตกต่างจะขึ้นอยู่กับความต้องการความรู้ ทักษะ และลักษณะเฉพาะส่วนบุคคล ที่จำเป็นและเหมาะสมกับงานนั้น ๆ เพื่อให้สามารถทำงานนั้น ๆ ได้สำเร็จตามเป้าหมายของงานนั่นเอง

     - Leadership Competency
         คือ สมรรถนะ หรือ พฤติกรรมที่แสดงถึงความเป็นผู้นำ ทักษะของการบริหารจัดการ ทักษะของการเป็นผู้นำ ซึ่งแต่ละองค์กร หรือ หน่วยงาน หรือบริษัท ก็จะกำหนดให้มีแตกต่างกัน ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม และธุรกิจขององค์กรว่าต้องการให้เป็นแนวไหน และจะมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน สำหรับกลุ่มพนักงานระดับที่เป็นหัวหน้าจนถึงผู้บริหารระดับสูงขององค์กร

     - Managerial Competency
        คือ สมรรถนะ หรือ พฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความสาารถในการบริหารจัดการ การวางแผนงาน การมอบหมายงาน การติดตามงานที่กำหนดขึ้นในการบริหารงานของกลุ่มผู้บริหารแต่ละระดับ เช่น พนักงานกลุ่มเป้าหมายที่จะมีโอกาสได้รับการเลื่อนตำแหน่ง หัวหน้างานชั้นต้น-กลาง-สูง ผู้บริหารระดับต้น-กลาง-สูง  ซึ่งทักษะความสามารถในการบริหารจัดงานจะต้องสอดของกับเป้าหมายขององค์กรอีกด้วย

    3. ทำการประเมินพนักงานในแต่ละระดับตาม Competency ตามหัวข้อที่องค์กรกำหนดไว้

    4. ทำแผนงานในการพัฒนาตามในส่วนที่พนักงานรายบุคคล (IDP) และติดตามประเมินผล และกำหนดเป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงให้ชัดเจน


    ทั้งนี้ การพัฒนาในด้านต่าง ๆ จะต้องมีวิธีการพัฒนา ใช้ทรัพยากร เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ  ใช้เวลาที่เหมาะสม และสอดคล้องกับเป้าหมายหรือวัฒนธรรมขององค์กร 

    1. การฝึกอบรมเพียงครั้งสองครั้งแล้วหวังผลว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยทันทีนั้นเป็นไปได้สำหรับพนักงานบางคน และบางพฤติกรรมเท่านั้น หรืออาจไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย

    2. การพัฒนาเพียงอย่างเดียวแล้วให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอาจจะใช้ไม่ได้ผล ซึ่งอาจจะต้องใช้การออกกฎระเบียบ หรือคำสั่งนั้น ๆ มาใช้ในการบังคับ(สั่ง/ห้าม/ต้องทำ/ให้ทำ) เพื่อที่ให้มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงกฎระเบียบ หรือการสร้างแรงจูงใจ เช่น การเลื่อนตำแหน่ง เพิ่มเงินรางวัล การเพิ่มสวัสดิการ เป็นต้น

    3. ถ้าพฤติกรรมของหัวหน้างานนั้น ๆ เมื่อประเมินแล้วไม่เหมาะสมหรือไม่สามารถเป็นไปได้ตามที่องค์กรต้องการ ก็จะต้องเปลี่ยนตัวหัวหน้างานหรือดำเนินการทางวินัย เช่น การโยกย้าย เปลี่ยนหน้าที่ ปลดออก ให้ออก เป็นต้น 


    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • Teeraporn Bunnag
    Teeraporn Bunnag
    07 กันยายน 2021 12:40 น.
    ลองเริ่มจาก ติดตามการนำความรู้ไปใช้ โดยเน้นที่พฤติกรรมที่แสดงออกต่อในทีม แล้วหาโอกาสประเมินจากล่างขึ้นบนก็ได้ครับ ค่อยๆ ดูการเปลี่ยนแปลง สำคัญคือ พยายามหาวิธีการให้หัวหน้า-ลูกน้องคุยกันให้บ่อยขึ้น ทำกิจกรรมร่วมกันมากขึ้น เดี๋ยวความสัมพันธ์ก็จะดีเองครับ
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

อันดับผู้ให้ข้อมูล