- ผู้จัดการ (Manager)
- ทรัพยากรมนุษย์/บุคคล
- อสังหาริมทรัพย์
- 51~100 คน
พนักงาน "ทิ้งงาน" ถึงขั้นที่เรียกว่าตาย เปลี่ยนไลน์ เปลี่ยนเบอร์ ลอยแพลูกค้าที่รับผิดชอบอยู่
ขอคำปรึกษาจากเพื่อนๆสมาชิกทุกๆ ท่านค่ะ
ความเสียหายเบื้องต้นที่เกิดคือพนักงานท่านนี้ถือข้อมูลลูกค้าอยู่ในมือ และที่ผ่านมาก็ได้มีการติดต่อสื่อสารและเข้าไปทำงานเพื่อดูแลกลุ่มลูกค้าจำนวนมากมายเนื่องจากทำเป็นเหมือนตำแหน่งพนักงานขายควบ customer service
หากว่าเป็นการลาออกหรือจ้างออกตามปกติก็จะมีการถ่ายเทงานและข้อมูลต่างๆ ทำให้บริษัทจัดการสานต่อได้ง่าย แค่พอเป็นแบบนี้บริษัทก็ต้องเสียความน่าเชื่อถือในสายตาของลูกค้าไป
ตอนนี้บริษัทจะทำอย่างไรต่อไปดีเนื่องจากบริษัทยังไม่ได้จ่ายเงินเดือนไปเพราะยังไม่ถึงกำหนดสิ้นเดือน แบบนี้จะดำเนินการเรื่องเงินต่ออย่างไร และเราจะมีวิธีการดำเนินการทางกฎหมายอย่างไรได้บ้างคะ จริงๆ ไม่ได้ต้องการทำให้เป็นเรื่องใหญ่โต ขอแค่ได้ข้อมูลลูกค้าต่างๆกลับมาก็พอแล้วค่ะ
ความเสียหายเบื้องต้นที่เกิดคือพนักงานท่านนี้ถือข้อมูลลูกค้าอยู่ในมือ และที่ผ่านมาก็ได้มีการติดต่อสื่อสารและเข้าไปทำงานเพื่อดูแลกลุ่มลูกค้าจำนวนมากมายเนื่องจากทำเป็นเหมือนตำแหน่งพนักงานขายควบ customer service
หากว่าเป็นการลาออกหรือจ้างออกตามปกติก็จะมีการถ่ายเทงานและข้อมูลต่างๆ ทำให้บริษัทจัดการสานต่อได้ง่าย แค่พอเป็นแบบนี้บริษัทก็ต้องเสียความน่าเชื่อถือในสายตาของลูกค้าไป
ตอนนี้บริษัทจะทำอย่างไรต่อไปดีเนื่องจากบริษัทยังไม่ได้จ่ายเงินเดือนไปเพราะยังไม่ถึงกำหนดสิ้นเดือน แบบนี้จะดำเนินการเรื่องเงินต่ออย่างไร และเราจะมีวิธีการดำเนินการทางกฎหมายอย่างไรได้บ้างคะ จริงๆ ไม่ได้ต้องการทำให้เป็นเรื่องใหญ่โต ขอแค่ได้ข้อมูลลูกค้าต่างๆกลับมาก็พอแล้วค่ะ
2 คำตอบ
- เอื้อมพร วรรณยิ่ง Auemporn(Aor)08 กรกฎาคม 2021 09:33 น.จากกรณีนี้ แนะนำให้ลองติดต่อ บุคคลใกล้ชิด หรือบุคคลอ้างอิงของพนักงาน โดยแจ้งข้อเท็จจริงจาการกระทำของพนักงาน ให้มีการส่งมอบงานก่อนสิ้นสุดการจ้างงาน โดยเจรจาต่อรองให้พนักงานเข้ามาจัดการงานที่บริษัท และ ทางบริษัทจึงจ่ายเงินเดือน แต่เปลี่ยนรูปแบบการจ่ายเป็นเงินสด หรือ ออกเช็คแทน
ทางบริษัท สามารถอ้างอิงพะราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา119
"นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างงาน ในกรณีที่ลูกจ้างกระทำความผิดข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้"- ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
- จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
- ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
- ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน โดยหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
- ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม
- ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก โดยในกรณีนี้ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
0ขอบคุณสำหรับข้อมูลหากต้องการอ่านคำตอบทั้งหมด
กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก
(ใช้เวลาไม่นานในการสมัคร)มีบัญชีอยู่แล้ว?เข้าสู่ระบบ
คุณเห็นด้วยกับนโยบายความเป็นส่วนตัว
และได้ศึกษาข้อตกลงในการใช้งานของ HR NOTE ก่อนเข้าใช้ระบบสมาชิก
มีบัญชีอยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบ