ที่บริษัทมีระบบในการให้พนักงานสามารถ Rotate ไปทำทำงานตำแหน่งอื่นๆ ที่สนใจในบริษัทได้ ซึ่งกระบวนการย้ายงานภายในบริษัทเหล่านี้จะมีกระบวนการตรวจสอบและคัดเลือกเพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าเป็นการตัดสินใจที่ผ่านการไตร่ตรองมาดีแล้ว แต่ปัญหาก็คือหลังจากพนักงาน rotate ไปก็มักจะเกิดการลาออกตามมาไม่นาน ต่อให้ไม่ได้ลาออกไปทันที แต่ถ้าติดตามดูจากฐานข้อมูล พนักงานก็จะลาออกไปอยู่ดี แบบนี้เราควรที่จะปรับปรุงระบบ job rotation ในบริษัทอย่างไรดีครับ และคิดว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานี้ได้บ้าง

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

3 คำตอบ

  • ดร.พลกฤต  โสลาพากุล
    ดร.พลกฤต โสลาพากุล
    30 ตุลาคม 2021 22:04 น.
    ต้องกลับไปดูที่ต้นเหตุว่า Rotate แล้วลาออกจริงไหม หรือเพราะหัวหน้างาน ความไม่เข้าใจ เพราะลักษณะการ Rotate ต้องสื่อสารให้ชัดเจน เพราะอาจมีปัจจัยหลายตัวแปรที่ทำให้เิดเหตการณ์นี้ก็เป็นไปได้ เช่น  ไม่รู้เนื้องาน ไม่ถาม ไม่สอนงาน เป็นต้น
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • สวัสดีครับ

    สำหรับประเด็นการ rotation พนักงาน เพื่อเจาะจงในการ identify ปัญหาที่สุด อาจพัฒนา การสัมภาษณ์เหตุผลที่ลาออกให้ความสำคัญมากขึ้น ทั้งนี้ อาจเกิดได้จากทั้งการปรับตัว แรงกดดัน ความสามารถในการเรียนรู้ และเส้นทางอาชีพที่ไม่มั่นใจ เป็นต้น 

    ในขณะที่บริบทภาพรวม หากดูจากฐานข้อมูล อาจต้องพิจารณาแวดล้อมประกอบด้วย เช่น กลุ่มที่ไม่ rotate ออกน้อยกว่าในช่วงเดียวกัน? ลักษณตำแหน่งที่มักได้ rotate นั้นอยู่ในกลุ่มเปลี่ยนถ่ายไหม? เพื่อ make sure ในการสรุปว่า ฐานข้อมูลบ่งชี้ว่า ลาออก เพราะ rotate จริงๆ 

    จากนั้นย้อนกลับไปข้อแรกครับ ว่าส่วนมากลาออกเพราะอะไร กลุ่มข้อมูลเก่า อาจมองให้เป็นสัญญาณบางอย่างที่ต้องจับตามอง หากแต่เก็บข้อมูลใหม่ พร้อมเพิ่มกระบวนการลดความเสี่ยง ซึ่งหากองค์กรคุณมีกระบวนการช่วงก่อน rotate ดีอยู่แล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าคนออกเพราะอะไร ให้โฟกัสที่การติดตามผลช่วงแรกครับ ทุก 3 , 6 , 12 เดือน เช่น เป็นอย่างที่คาดหวังไหม ต้องการอะไรเพิ่มไหม มีติดขัดอะไรไหม เพื่อปิดความเสี่ยง และจูนแนวทางกัน

    โดยรวมตรงนี้จะช่วยทำให้เกิดการ rotate ที่ได้ผลที่ดีขึ้น
    .
    .
    ทั้งนี้ผมเสนออีก option นึง ที่ช่วยตอบโจทย์ การเรียนรู้ข้ามแผนก และความยืดหยุ่นในการทำงานระหว่างกันเพิ่มเติม ก็คือการพัฒนา collaborative work เหมือนเป็นครึ่งทาง หรือ เป็นจุดเริ่มต้นก่อนการย้ายแผนก คือเน้นความร่วมมือระหว่างกัน ลดพรมแดนระหว่างแผนก ตรงจุดนี้จะช่วยเพิ่มการเรียนรู้ ต่อยอด รวมถึง พนักงานหนึ่งคน จะมีมุมมองของงาน ความสามารถที่เพิ่มเติมที่ได้จากการทำงานร่วมกันของแผนกอื่น ได้เรียนรู้ เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการทำงานแล้ว ถ้าเค้าชอบ หรือ อยากย้ายจริงๆ ก็สามารถกระทำได้ เพื่อให้นอกจากการ rotate แล้ว องค์กรมีเครื่องมือในการเพิ่ม engagement หรือ สับเปลี่ยน จัดสรร รวมถึงลดการ turnover อันเนื่องมาจาก value miss match ด้วยการให้ทำงานในรูปแบบ collab ระหว่างแผนก และทำ cross mulit-functional team ซึ่งช่วยให้องค์กรเกิด resilient and more agility มากขึ้นครับ 

    ถ้าอ่านแล้วติดขัด สงสัย หรือมีความคิดเห็นยังไง แลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

    ขอให้เจอทางแก้นะครับ ^^
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

หากต้องการอ่านคำตอบทั้งหมด
กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก
(ใช้เวลาไม่นานในการสมัคร)

อันดับผู้ให้ข้อมูล