ขอสอบถามในเชิงการเงิน (และความคุ้มค่า) ของการจัด “สวัสดิการ” ให้พนักงาน

Wipanee
Wipanee
29 มีนาคม 2021 11:49 น.
ขอถามคำถามในมุมมองของฝั่งนายจ้าง/ เจ้าของธุรกิจ /HR ที่ทำเกี่ยวกับ Employee engagement หน่อยค่ะว่า อะไรคือความพอดี อะไรคือหลักคิด ในการที่เราจะจัดสรรงบประมาณบริษัทเพื่อมอบเป็นขวัญกำลังใจให้พนักงาน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเงินที่จ่ายไปมันมี Return in investment ที่ดี ที่ถามไปทั้งหมดไม่ใช่เพื่อจะเอาไปปรับลด Cost อะไรนะคะ แค่อยากใช้เงินไปกับสิ่งที่คุ้มค่าและพนักงานก็อยากได้มันจริงๆ

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

4 คำตอบ

  • ความคุ้มค่าในเชิงการเงิน ROI    อาจจะต้องคำนวณด้วยสูตรทางการเงินโดยการแปลงผลสำรวจความพึงพอใจของพนักงานต่อการใช่งาน  Cafeteria Welfare  โดยต้องออกแบบข้อคำถามให้พนักงานบอกรายละเอียดของการใช้งานและประเมินออกเป็นตัวเลขและมูลค่าให้มากที่สุด

    ความหมายของ Cafeteria Welfare คือ การเลือกใช้สวัสดิการตามที่พนักงานต้องการในวงเงินที่บริษัทจัดให้  โดยมีแนวคิดตามทฤษฎีมาสโลว์ คือ ทฤษฎีความต้องการที่แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้น ในลักษณะของพีระมิดที่เรียกว่า Maslow's Hierarchy of Needs คือ Physiological Needs, Safety Needs, Love and Belonging Needs, Esteem Needs, และ Self Actualization 

    เช่น   มีวงเงินสวัสดิการ  5000 บาท  พนักงานสามารถออกแบบการใช้งานโดยให้นำรายการค่าใช้จ่ายมาเบิก ทึกการใช้จ่าย  และตอบแบบสำรวจความพึงพอใจในการใช้สิทธิ์ Cafeteria Welfare  (HR  ควรออกแบบข้อคำถามที่แสดงถึงการเข้าถึงสวัสดิการ   ความหลากหลาย  ประโยชน์ต่อพนักงานและครอบครัว  และความคุ้มค่า เป็นต้น

    พนักงาน วัย 25  ชายโสด    เลือกใช้สวัสดิการ สิทธิ์ใช้งาน Fitness Center มูลค่า 5000 บาทต่อปี
    พนักงาน วัย 30  หญิง แต่งงานแล้ว   ตั้งครรภ์ 2 เดือน  เลือกใช้สวัสดิการ  แพคเกจฝากครรภ์พิเศษ และนำสิทธิ์ 5000 บาทที่บริษัทจัดมาเพิ่มเติม
    พนักงานชาย วัย 45 ปี  เลือกใช้สิทธิ์ 5000 บาทในการตัดแว่นสายตา Progerssive ที่มีราคาแพง 
    พนักงานชาย วัย 36 ปี  แต่งงานแล้ว มีบุตร อายุ 3 เดือน  เลือกใช้สิทธิ์ 5000 บาทในการซื้อนมบุตร
    พนักงานหญิง โสด วัย 40 ปี  เลือกใช้สิทธิ์ 5000 บาทในการอบรม คอร์สพิเศษด้านการโค้ช   

    ลองประยุกต์ใช้ดูนะคะ   หลักการคือ  สวัสดิการ คือ ประโยชน์ที่เอื้ออำนวยให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สะดวกขึ้น  แต่ละช่วงวัยของมนุษย์มีความต้องการแตกต่างต่างกัน  แปรตามปัจจัยส่วนตัว  ปัจจัยครอบครัว ที่มาเกี่ยวข้อง  ความสนุกในการออกแบบ  สร้างความสุขให้แก่พนักงาน  และสร้างบรรยากาศแห่งความเบิกบานในบริษัท   สิ่งเหล่านี้ ก็คือ  ROI  ในเชิงนามธรรมด้วยเช่นกัน
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • ดร.พลกฤต  โสลาพากุล
    ดร.พลกฤต โสลาพากุล
    23 ตุลาคม 2021 20:08 น.
    คำนวณตามแบบ ROI ตามนี้ครับ
    สูตร รายได้-ต้นทุน/ต้นทุน 

    ถ้ามากกว่า > 1 ขึ้นไปถือว่าคุ้มแล้ว
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • Pisara Lumpukdee (Vandy)
    Pisara Lumpukdee (Vandy)
    30 มีนาคม 2021 23:05 น.
    สิ่งแรกคือการรู้งบประมาณสำหรับจัดสรรเพื่อ “สวัสดิการ” ก่อน หลังจากนั้น เอาข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ อาจจะเป็นการสำรวจเกี่ยวกับเรื่องสวัสดิการโดยเฉพาะที่จัดทำขึ้นมาเฉพาะกาล หรือ เป็นข้อมูลที่ได้จากการทำสำรวจ Employee Engagement Survey ตาม cycle ประจำ ซึ่งหลายๆองค์กร Engagement Survey ดังกล่าวมักจะมีคำถามที่เกี่ยวกับความพึงพอใจของสวัสดิการอยู่แล้ว มาจัดลำดับความสำคัญตามคะแนน และให้สอดคล้องกับงบประมาณ

    ตัวอย่างคำถามที่มักใช้ ได้แก่ คุณมีความพึงพอใจกับสวัสดิการที่องค์กรให้ในปัจจุบันมากน้อยแค่ไหน (คำถามนี้อาจใช้ likert scale ในการวัด) หรือการใส่ประเภทสวัสดิการที่มีอยู่ หรือที่กำลังจะเพิ่มในแบบสอบถาม แล้วให้พนักงานเรียงลำดับจากที่สิ่งชอบมากไปหาน้อย หรือการใช้คำถามปลายเปิดเสริม เช่น คุณอยากให้มีสวัสดิการอะไรที่องค์กรยังไม่มี เป็นต้น

    ส่วนการวัด ROI ก็สามารถทำได้หลาย dimensions เช่นวัดในแง่แรงจูงใจที่ก่อให้เกิด performance ก็สามารถทำง่ายๆ แบบการทำ benchmark ดู performance ว่าก่อน roll out สวัสดิการตัวใหม่ กับหลังให้สวัสดิการตัวใหม่ ต่างกันอย่างไร ถ้าวัดในแง่ว่าสวัสดิการสามารถดึงดูดบุคลากรได้ดีขึ้นหรือไม่ ก็อาจจะดูจากจำนวนการตอบรับ offer หลังจากเสนองานให้กับผู้สมัครงาน และในบางองค์กรโดยเฉพาะในต่างประเทศ ยังดูไปถึง quality ของพนักงานที่รับเข้ามาใหม่ด้วยว่า มี performance อยู่ในระดับสูงกว่ากลุ่มก่อนๆที่รับเข้ามาหรือไม่ ซึ่งก็เป็นการบอกว่า สวัสดิการตัวใหม่สามารถดึงดูดคนที่มีคุณภาพกว่าเดิมได้หรือไม่ หรือถ้าวัดในแง่ engagement หรือ retention ก็ดูจำนวนการลาออกของพนักงานว่าลดลงหรือไม่ หลังจากมีการเพิ่มสวัสดิการดังกล่าวเข้าไป เป็นต้น

    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

หากต้องการอ่านคำตอบทั้งหมด
กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ สมัครสมาชิก
(ใช้เวลาไม่นานในการสมัคร)

อันดับผู้ให้ข้อมูล