ควรแยกงานปกติทั่วไป ออกจากงานที่ต้องทำใน OKR หรือเปล่า

feathersingle
feathersingle
12 มีนาคม 2021 17:29 น.
สงสัยในส่วนนี้ค่ะว่างานที่เราทำกันทุกวันมีส่วนเกี่ยวข้องกับ OKR  หรือเปล่าคะ  มีความจำเป็นอะไรไหมที่เราต้องพยายามแบ่งสองอย่างนี้ออกจากกันอย่างชัดเจน เพราะจริงๆ แล้วงานประจำวันก็คือกิจกรรมหนึ่งที่นำไปสู่ความสำเร็จของทีมไม่ต่างกัน หรือว่าควรจะเอางาน routine ไปใส่ไว้ในการวัดผลแบบ KPI แทน

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

2 คำตอบ

  • เราสามารถนำงานปกติทั่วไปหรืองานโครงการมาใช้กับ OKR ได้  ภายใต้ข้อพิจารณาดังนี้

    1.        งานนั้นมีเป้าหมายในการปรับเปลี่ยน ยกระดับ สร้างสรรค์ ผลิตคิดค้นอะไรบางอย่างที่ท้าทายมากขึ้น
    2.        งานนั้นมีการกำหนดผลลัพธ์ที่ชัดเจนได้ ทุกคนในทีมงานรับทราบ รับรู้และพร้อมลงมือทำ
    3.        หากงานั้นต้องพาดพิงหรือมีกระบวนการส่งต่อไปยังต่างหน่วยงาน หากตั้งเป็น OKR ต้องถือว่าเป็นเป้าหมายร่วมกันด้วย
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • แยกกันค่ะ

    งานประจำ routine คืองานที่เราต้องทำตามบทบาท หน้าที่ รับผิดชอบอยู่แล้ว
    ส่วน OKRs คืองานที่ปฏิบัติ นอกเหนือจากงานทั่วไป

    ทั้งนี้ อาจเป็นงานภายในแผนกที่ตกลงในทีมร่วมกันในการสร้าง Objective ขึ้นมาแล้วทำให้สำเร็จ หรืองานร่วมกันระหว่างทีมแบบ Cross Functional Team ที่ทำเป็นโปรเจคมีการรวมกันของหลายหน่วยงาน เพื่อให้โปรเจคนั้นสำเร็จ

    ยกตัวอย่างง่ายๆ นะคะ ตัวอย่าง องค์การเป็น Recruitment Agency ตำแหน่ง
    HR Recruiter มีหน้าที่รับสมัครพนักงาน ทำการประกาศรับสมัครงาน สัมภาษณ์งาน จัดทำเอกสารจนแล้วเสร็จกระบวนการรับสมัคร นี้คืองาน routine

    เมื่อเป็น OKRs Objective ที่ตั้งจะเชื่อมโยงกับ Vision Mission ขององค์การที่ต้องการเป็น Recruitment Agency ที่มี database ของผู้สมัคร เป็นอันดับหนึ่งในประเทศไทย ดังนั้น Objective คือมีแพลทฟอร์มทาง Social Network ที่สร้างผู้ติดตามมากว่า 50,000 คน ภายในไตรมาส การสร้าง Key result มี Page ที่เป็นชุมชนของผู้สมัครงานของบริษัท สำเร็จภายใน 2 สัปดาห์ HR Recruiter ต้องทำให้เกิด KR นี้เกิดขึ้น

    ส่วน Cross Functional Team เช่นการสร้างระบบ KM ในองค์การ ที่ทุกส่วนงานต้องเข้ามาร่วมกันทำให้เกิดขึ้น ตั้งเป็นโปรเจคที่ต้องสำเร็จภายใน 6 เดือน ซึ่ง KM นี้สามารถส่งผลให้เกิดการรวบรวม จัดวางความรู้ข้อมูลต่างๆในองค์การ แบ่งเป็นประเภท หมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึง และการนำไปใช้ได้ทันที นี้คือรูปแบบ Cross functional Team ที่นอกเหนือจากงาน routine แต่ให้ความสำเร็จกับองค์การได้
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

อันดับผู้ให้ข้อมูล