ส่งประกันสังคมซ้ำซ้อน เพราะลูกจ้างทำงานหลายที่พร้อมกัน

อยากสอบถาม HR ทุกท่านค่ะ คือยุคสมัยนี้เด็กรุ่นใหม่เริ่มรับงานหลายๆที่ มีงานสองงานสาม หลายคนก็ทำงานหลายที่พร้อมกัน ตรงนี้ทราบมาว่าไม่ได้ผิดกฎหมาย แต่อาจจะผิดกฎบริษัทใช่ไหมคะ ? แต่ถ้าบริษัทก็ไม่ได้เขียนเงื่อนไขนี้ไว้ พอลูกจ้างไปทำงานที่สองที่สาม (แต่เค้าก็บริหารจัดการดี ไม่ได้กระทบต่องานที่ทำอยู่นะคะ) HR ก็ต้องส่งประกันสังคมซ้ำซ้อน แล้วเราจะรับมืออย่างไรได้บ้าง หรือเราสามารถยกเลิกส่งประกันสังคมให้เขาได้ไหม 

ใครมีคำแนะนำช่วยกันแบ่งปันหน่อยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ 

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

3 คำตอบ

  • ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร
    ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร
    27 พฤศจิกายน 2021 23:08 น.
    ขอชี้แจงการเป็นผู้ประกันตนก่อนค่ะ จะได้ทำความเข้าใจได้ง่าย
    1. ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะมีนายจ้างขึ้นทะเบียนและนำส่งเงินสมทบร่วมกับลูกจ้าง
    2. ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือลูกจ้างที่เคยเป็นมาตรา 33 มาก่อน และออกจากงาน ก็นำส่งเงินสมทบต่อด้วยตนเอง ซึ่งต้องไม่เกิน 6 เดือน เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม
    3. ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือผู้ประกอบอาชีพอิสะ เช่น แม่ค้าขายส้มตำ ขายหมูปิ้ง ขายของในตลาด

    การที่พนักงานทำงานหลายแห่ง ให้ยึดที่ใดที่หนึ่งเป็นหลัก เพราะเมื่อเข้าทำงาน ทางนายจ้างต้องนำส่งประกันสังคนตามมาตรา 33 อยู่แล้ว
    และใช้เลขบัตรประชาชนของพนักงานคนนั้น ๆ ในการขึ้นทะเบียนให้ลูกจ้าง

    ส่วนรายได้จากที่อื่น ๆ นายจ้างก็มีหน้าที่ต้องนำส่งประกันสัมคมเช่นกัน โดยทางพนักงานต้องแจ้งให้นายจ้างทราบด้วย
    แนะนำว่าให้จ้างนอกระบบ และหักภาษี ณ ที่จ่ายตามระเบียบสรรพากร จะได้ไม่ยุ่งยาก โดยจัดจ้างในรูปแบบอื่น ที่ไม่ใช่การจ้างแรงงาน 

    เล่าสู่กันฟัง เคยมี case แบบนี้ การขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ต้องใช้เลขบัตรประชาชน  ในระยะยาวหากมีการหลงลืม หรือเปลี่ยนแปลงนายจ้าง เวลาไปใช้สิทธิประกันสังคม อาจผิดพลาดได้ 
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • ปราโมทย์ ลาภธนวิรุฬห์
    ปราโมทย์ ลาภธนวิรุฬห์
    25 พฤศจิกายน 2021 10:36 น.
    การหักเงินสมทบประกันสังคม ทางนายจ้างจะต้องนำส่งตามปกติครับ ถ้าไม่นำส่งก็จะมีความผิด
    ถึงแม้ว่าพนักงานจะมีการนำส่งประกันสังคมหลายที่ก็ตาม 
    และต้องดูด้วยว่าการที่พนักงานไปทำงานกับบริษัทอื่นเป็นการกระทำที่เป็นการแข่งขันในลักษณะที่เป็นธุรกิจประเภทเดียวกันหรือทำให้นายจ้างได้รับความเสีนยหายหรือไม่ ถ้าเป็นกรณีนี้ต้องให้พนักงานเลือกที่จะทำกับที่ใดที่หนึ่งเพียงที่เดียวครับ
    หลังจากที่ข้อมูลเข้าระบบประกันสังคมแล้ว ทางนายจ้างและพนักงานมีหน้าที่ที่จะต้องไปติดต่อประกันสังคมเพื่อขอรับเงินที่นำส่งเกินครับ
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
  • ดร.พลกฤต  โสลาพากุล
    ดร.พลกฤต โสลาพากุล
    24 พฤศจิกายน 2021 22:34 น.
    ก็ส่งประกันสังคมตามปกติครับ แต่จะมีปัญหาตามหลังเช่นถ้าพนักงานท่านนั้นลาออกจากแห่งที่สอง บริษัทที่สองเขาจะแจ้งการสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน ทำให้สถานะการเป็นบริษัทที่ 1 หลุดไปด้วย ทางแก้ไข ทางตัวแทนนายจ้างต้องทำหนังสือชี้แจ้งไปที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ให้รับทราบโดยเร็วครับ จากประสบการณ์ตรง
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

อันดับผู้ให้ข้อมูล