คุณคิดเห็นอย่างไรกับปรากฎการณ์ "ย้ายประเทศกันเถอะ" ในมุมมองของ HR/นายจ้าง/เจ้าของธุรกิจ

เรามีการพูดกันมาตลอดเรื่องของการทำ Talent management  เรื่องของการรักษาพนักงานฝีมือดีให้ทำงานในองค์กรได้อย่างยาวนาน

หรือแม้กระทั่งเรื่องของ Employee engagement ที่คนระดับบริหารขององค์กรพยายามจะหาคำตอบว่าจะออกแบบเรื่องของสวัสดิการหรือนโยบายการบริหารคนให้คนรุ่นใหม่รู้สึก Engage กับงานได้อย่างไร

จากปรากฎการณ์บนโลกออนไลน์ล่าสุดที่เป็นกระแส มันสะท้อนถึงความคิด ความรู้สึก หรือความต้องการอะไรในสังคม และเราเรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้ได้บ้าง เพื่อที่จะได้นำเอา Insight หรือมุมมองตรงนี้มาบริหารงานบุคคลในบริษัทของท่านได้สอดคล้องกับคนทำงานมากยิ่งขึ้น

แชร์ความคิดเห็นกันได้เต็มที่เลยนะครับ :)

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

1 คำตอบ

  • จากปรากฏการณ์ "ย้ายประเทศกันเถอะ" สะท้อนถึงความคิดและความต้องการของมนุษย์ตามทฤษฎีความต้องการ 5 ขั้นของมาสโลว์ แรงจูงใจที่อยากทำให้ผู้คนต้องการย้ายประเทศเพราะเขารู้สึกว่าเขาไม่ได้รับการเติมเต็มความต้องการขั้นที่ 1 คือความต้องการด้านกายภาพเพื่อการดำรงชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยารักษาโรค และความต้องการในขั้นที่สองคือความปลอดภัย (safety needs)เช่นความรู้สึกปลอดภัยในการใช้ชีวิตท่ามกลางโรคระบาด การเข้าถึงสวัสดิการและการดูแลรักษา สภาพเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อการครองชีพและหน้าที่การงาน
    ปรากฏการณ์ "ย้ายประเทศกันเถอะ"  บอกอะไรเราหลายอย่าง....
    1. คนเรามีความสามารถในการปรับตัวและเอาตัวรอดสูง คนที่คิดอยากย้ายประเทศอยู่ในโหมดเอาตัวรอด (Survival mode)
    2. พลังของ social media platform มีอำนาจมาก สามารถรวบรวมผู้คน "กว่าล้านคน" ที่มีความคิด จุดมุ่งหมายและเป้าหมายบางอย่างร่วมกันได้ภายในสัปดาห์
    3. อาจเกิดภาวะสมองไหลของประเทศไทย เพราะคนไทยอยากย้ายประเทศ ต่างประเทศก็พร้อมที่จะอ้าแขนรับ เพราะคนไทยบางกลุ่มเป็นพลเมืองชั้นดีและมีคุณภาพสามารถทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติของเขาได้อีกเยอะ นอกจากนี้หากสัดส่วนของพลเมืองชั้นดีที่มีคุณภาพของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่องเราจะขาดกำลังของประชากรกลุ่มสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยให้พัฒนาขึ้นโดยเฉพาะเด็ก generation ใหม่ๆ
    4. ประเทศไทยของเราจะไม่สามารถ Retain พลเมืองคุณภาพไว้กับประเทศเราหรือแม้แต่ attract พลเมืองคุณภาพของประเทศอื่นมาได้ หากเรายังไม่แก้ปัญหาที่ตอบโจทย์ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ของ Maslow ได้อย่างเป็นรูปธรรม
    5. ปัญหาในข้อที่ 4 เป็นปัญหาในระดับมหภาคเราจะสังเกตได้ว่าเมื่อใดก็ตามที่สถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจและสังคมมีการเปลี่ยนแปลงหรือความอ่อนไหวเกิดขึ้นก็จะเกิดปรากฎการณ์ Labor movement 
    6. ในฐานะ Hr เราควรต้องกลับมาวิเคราะห์ลักษณะแรงงานที่ขับเคลื่อนธุรกิจของเรา ระบุตำแหน่งงานที่เป็น critical (ขาดไปธุรกิจเดินต่อไม่ได้) อัตราหรือจำนวนที่เหมาะสมเพียงพอต่อการขับเคลื่อนธุรกิจ รวมถึงทักษะสำคัญที่แรงงานควรจะต้องมีเพื่อทำ Business continuity รวมทั้งประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นและมาตรการรองรับหากมีการเคลื่อนไหวของแรงงานในอุตสาหกรรมธุรกิจของเรา
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

อันดับผู้ให้ข้อมูล