พนักงานไม่ผ่านโปร

พนักงานเป็นญาติกับเจ้าของบริษัท ช่วงโควิดเขาลาออกจากบริษัทที่เขาทำแล้วมาทำงานบริษัทพี่ชายเรา แต่ทำงานไม่ผ่านการประเมินทุกเดือน แต่ก็ให้ทำต่อเพราะเป็นญาติเอาแต่ นั่งดูหนัง และซีรี่ส์ ตอนแรกทางพี่ชายเราจะให้ออกเพราะไม่ทำงาน
แต่พนักงานมาฟ้องว่า ญาติบอกว่า ถ้าให้ออกจะฟ้องเอาเงิน ฟรี 3 เดือน ข้อหาตกใจ 
#แต่ญาติยังไม่ผ่านโปรนะคะ 
#ถ้าเราให้ออกญาติมีสิทธิ์เรียกร้องเงินอะไรจากทางบริษัทได้ไหมคะ แต่ทางเราไม่ยินดีจ่ายเงินให้เพราะไม่ตั้งใจทำงานดูแต่หนัง เอาเปรียบคนอื่น

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

1 คำตอบ

  • Poonnie HR
    Poonnie HR
    08 พฤษภาคม 2021 16:10 น.
    คำถามกว้างมากเลยครับ ประเด็นนี้น่าจะมีผลทางกฎหมายแรงงานด้วย เลยไม่ค่อนแน่ใจในประสบการณ์ที่อยากแชร์เลยครับ แต่ลองย้อนไปพิจารณาดังนี้ก่อนครับ
    1. ประเภทการจ้างงานเป็นแบบไหน สัญญาจ้างเป็นยังไง
    2. แบบประเมินผลการทดลองงานเป็นแบบไหน
    3. ประเมินผลงานในแต่ละช่วงไม่ผ่าน แล้วมีการพูดคุยเพื่อพัฒนาในข้อผิดพลาดชัดเจนหรือไม่
    4. ทดลองงาน 119 วัน ใช่หรือไม่ครับ
    5. มีการแจ้งพนักงานล่วงหน้าหรือไม่ครับว่า จะไม่ผ่านทดลองงาน
    6. ถ้าจ้างงานเกิน 119 วัน ยังไงก็ต้องจ่ายเงินชดเชย สำหรับเงื่อนไขการจ่ายเงินชดเชยขึ้นกับอายุงานของพนักงาน
    7. สำหรับรายละเอียดเงินชดเชย บางครั้งต้องมีค่าบอกกล่าวล่วงหน้า วันทีบอกพิจารณาเลิกจ้างก่อนหรือหลังวันเงินเดือนออก ประกอบในการจ่ายเงินชดเชยด้วยครับ
    8. ต้องพิจารณาเหตุผลการเลิกจ้างข้อนี้สำคัญมากครับ การ Performance ไม่ดี ต้องทำแผนพัฒนาก่อนเลิกจ้าง (รายละเอียดเยอะพอสมควรครับ) กับเลิกจ้างเพราะไม่ผ่านทดลองงาน ต้องบริหารเหตุผลดีๆ เลยครับ

        รายละเอียดค่อนข้างเยอะ เนื่องจากคำถามกว้างมาก เลยขอแชร์ประสบการณ์ในการพิจารณาประมาณนี้ครับ  ส่วน 3 เดือนค่าตกใจนี่ไม่น่าจะต้องจ่ายขนาดนี้ครับ  แต่ให้พิจารณาจากข้อ 7 ประกอบนะครับ มันมีรายละเอียดพอสมควรสำหรับเงินที่ต้องจ่ายชดเชยให้พนักงานกรณีเลิกจ้างครับ ทั้งนี้ผมเพิ่มเติมรายละเอียดการจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายให้อ่านประกอบ ดังนี้ครับ

    เงินค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องชดเชยให้ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

    1. เงินค่าตกใจ
    ในกรณีของการที่เราถูกเลิกจ้างโดยไม่บอกให้รู้ก่อนล่วงหน้าหรือบอกล่วงหน้าน้อยกว่า 60 วัน นายจ้างนั้นจะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน หรือเท่ากับการทำงาน 60 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน

    2. เงินค่าชดเชยการถูกเลิกจ้าง ในกรณีถูกให้ออกจากงานโดยที่ไม่มีความผิดและไม่สมัครใจจะออก ลูกจ้างมีสิทธิจะได้รับค่าชดเชยซึ่งจะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเดือนและอายุของการทำงาน ยิ่งอยู่กับบริษัทมานานก็จะยิ่งได้ค่าชดเชยมาก โดยนายจ้างต้องเป็นคนจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง ซึ่งเป็นค่าชดเชยที่คำนวณจากอายุงานของลูกจ้างเอง
    2

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล
    • Poonnie HR
      Poonnie HR
      09 พฤษภาคม 2021 18:27 น.
      จากที่อ่านเหตุผลมีทั้งเราได้เปรียบและเสียเปรียบครับ ลองคุยกับพนักงานดูครับ แต่อยากให้ใช้คำพูดที่เป็นทางการ เช่น เงินชดเชยตามกฎหมายจ่ายจากอายุการทำงาน ทำงาน 7 เดือน จะจ่ายชดเชยให้ 1 เดือน และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน ซึ่งค่าบอกกล่าวล่วงหน้าดีกว่าคำว่า ค่าตกใจครับ ลองเสนอทางเลือกนี้ดูว่าพนักงานโอเคมั้ย ถ้าไม่หรือขอเพิ่ม ต้องลองหาแนวทางดูครับ คืบหน้าอย่างไร ทิ้งข้อความไว้ได้นะครับ ผมจะแวะเข้ามาอ่านตอนดึก ๆ ครับ
    • chen1998
      chen1998
      08 พฤษภาคม 2021 20:17 น.
      จ้างเป็นพนักงานเปิดบิลในคลังสินค้า ประเมินผลทดลองงานเป็น เปอร์เซ็น ไม่ถึง70% สักเดือนค่ะ ทดลองงาน90 วันค่ะ
      ไม่ผ่านการประเมิน รับรู้ทุกเดือน พูดคุยทุกเดือนค่ะ ทำงานผิดพลาดตลอด แต่การทำผิดพลาดแต่ละครั้งโดนใบเตือนตลอดนะคะ ผจก.เรียกมาตักเตือนก็ขึ้นเสียงใส่
      (เข้ามาเพราะเส้นเลยวางตัวสูงเกินตำแหน่งงาน)ตอนนี้ทำงานกับทางเราได้ เดือนนี้ 7 เดือนแล้วค่ะ ที่จริงไม่ผ่านการทดลองงานจะให้ออกแต่ หุ้นส่วนเซ็นค้ำให้ทดลองอีก 1 เดือนค่ะ เป็นแบบนี้ทุกเดือน และไม่เคยปรับปรุงเลยค่ะ ถ้าเกิดต้องจ่ายค่าตกใจหรือค่าชดเชย ก็อยากจ่ายให้น้อยที่สุดค่ะ
      ทางเราแจ้งให้ออกล่วงหน้า 1 เดือนและจ่ายแค่ค่าตกใจได้ไหมคะ
      ถ้าเขาเรียกร้องมากกว่านั้น
      ทางเราสามารถใช้ใบเตือนที่เขาเคยได้รับและการทำผิดกฏบริษัทเป็นอ้างได้ไหมคะ

อันดับผู้ให้ข้อมูล