หากพนักงานต้องการลาไม่รับค่าจ้างแน่นอนว่าตัวพนักงานเองนั้นมีเหตุผลสำหรับการร้องขอเพื่อไม่รับค่าจ้างได้อยู่แล้ว เช่น ใช้สิทธิ์วันลาอื่นๆ หมดแล้ว ใช้สิทธิ์ลาที่เหลือไม่เหมาะสม เพราะไม่ได้เป็นประเภทสิทธิ์ลาเหล่านั้น (ไม่ได้ป่วยอะไรเพราะไม่พบญาติทำธุระต่างจังหวัดที่ไม่เหลือสิทธิ์ลากิจไปแล้ว) ซึ่งหัวหน้างานก็เห็นว่าพนักงานมีความจำเป็นเหล่านั้นอยู่ อย่างไรก็ดี แปลว่า พนักงานจะลาปริมาณวันเท่าใดก็ได้แบบนั้นหรือไม่ หรือ แท้จริงแล้วโดนกำหนดด้วยเงื่อนไขใดหรือเปล่า เพราะ จะต้องแจ้งกับพนักงานให้รับรู้เงื่อนไขหรือลิมิตเหล่านั้นเอาไว้ให้เขาทราบด้วย

คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

1 คำตอบ

  • กรณีพนักงานใช้สิทธิ์การลาทุกประเภทหมดแล้ว บริษัทสามารถให้พนักงานลาโดยไม่รับค่าจ้างได้ แนะนำให้ลาได้ติดต่อกัน
    ไม่เกิน 7 วันต่อปี และต้องมีเหตุผลอันสมควร เช่น เกี่ยวกับความเดือดร้อนทางครอบครัว และพนักงานต้องมีอายุงาน อย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป

    ข้อสังเกต : พนักงานที่ชอบลางานบ่อย ๆ หากผลงานไม่โดดเด่น ต้องพิจารณาว่า ยังสมควรที่จะทำงานกับบริษัทต่อไปหรือไม่

    ข้อแนะนำเพิ่มเติมค่ะ
    1. การให้ลาโดยพนักงานไม่รับค่าจ้าง ไม่ควรกำหนดเป็นระเบียบบริษัท เพราะจะทำให้เกิดวัฒนธรรมการลอกเลียนแบบ 
    2. ทำให้ขาดกำลังคนในการปฏิบัติงาน อาจมีผลกระทบต่อเพื่อนร่วมงาน
    3. เคยมีกรณีที่พนักงานลา แล้วไปทำงานที่ใหม่ ปรากฎว่าทำไม่ได้ และกลับมาทำงานที่บริษัทเดิม ดังนั้น ฝ่าย HR ต้องตรวจสอบเหตุผลในการลาให้เป็นไปตามข้อเท็จจริง  
    0

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    ขอบคุณสำหรับข้อมูล

อันดับผู้ให้ข้อมูล