ที่บริษัทกำลัง Rethink เรื่อง "วัฒนธรรมการแต่งกาย" ของพนักงานครั้งใหญ่ [เรื่องที่ดูเหมือนเล็กๆ ที่จริงๆ ไม่เล็ก]
สวัสดีครับเพื่อนๆในชุมชน HR Board
ตอนนี้ก็เข้าสู่ช่วงปลายปีแล้ว และเป็นช่วงที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องเริ่มวางแผนโปรเจกต่างๆด้านคนสำหรับปี 2022 ที่กำลังจะมาถึง / ปรากฎการที่มา Collab กันช่วงนี้ที่ทำให้ต้องมาคิดเรื่องการแต่งกาย ได้แก่
1.ทิศทางจากฝ่ายบริหาร - อยากปรับภาพลักษณ์ให้บริษัทเป็นองค์กรสำหรับคนรุ่นใหม่ (เป็นส่วนหนึ่งของแผน Recruitment marketing)
2.ฺBack to the office - ช่วงนี้พนักงานเริ่มกลับเข้ามาทำงานในออฟฟิศ การแต่งกายของพนักงานเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงไปในทาง Casual ลดความทางการลงมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความเคยชินจากการทำงาน Work from home
3.ธรรมชาติที่แตกต่างของทีมงาน - ต้องบอกว่าที่ Head office มีหลากแผนก หลายฝ่ายที่ประกอบด้วยคนต่างอาชีพต่างนิสัยอย่างมาก เช่น ทีมโปรแกรมเมอร์, ทีมขาย, แอดมิน เป็นต้น ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะไม่ได้มีกฎตายตัวว่าต้องแต่งแบบไหน แต่ยังมีเสียงสะท้อนถึงความกระอักกระอ่วนใจในการแต่งกายอยู่บ้างว่ายังไม่กล้าทำตามที่อยากได้อย่างเต็มที่
4.ปรับภาพลักษณะของฝ่ายทรัพยากรบุคคล - ข้อนี้เป็นเป้าหมายของแผนกบุคคลเองที่อยากปรับลุคจากครูใหญ่จอมเข้มงวดให้เป็นเพื่อนรู้ใจที่คอยสนับสนุนพนักงาน ด้วยความที่นับวันคนเจนใหม่ๆ ก็เข้ามาในบริษัทเยอะขึ้นเรื่อยๆ ในขนะที่คนในแผนกบุคคลก็ปะปนด้วยรุ่นเก๋ารุ่นใหญ่ที่อยู่มานานและน้องๆที่เพิ่งเข้ามา เลยอยากปรับภาพจำเพื่อที่พนักงานจะได้มี Engagement กับกิจกรรมต่างๆของบริษัทมากยิ่งขึ้น
เลยอยากจะมาขอความเห็นเพื่อนๆว่า ผู้นำ ฝ่ายบริหาร และ HR จะวาง strategy/ทำงาน/ สื่อสาร หรือออกนโยบายที่มีต่อเรื่องนี้อย่างไรดี จริงๆ อยากเห็นผลลัพธ์ของเรื่องนี้ซักกลางปีหน้า รวมถึงวิธีการวัดผลว่าสำเร็จมากน้อยแค่ไหน หากเพื่อนๆคนไหนเคยทำเรื่อง Culture transformation มาร่วมวงแชร์จะขอบพระคุณมากๆครับ
ตอนนี้ก็เข้าสู่ช่วงปลายปีแล้ว และเป็นช่วงที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลต้องเริ่มวางแผนโปรเจกต่างๆด้านคนสำหรับปี 2022 ที่กำลังจะมาถึง / ปรากฎการที่มา Collab กันช่วงนี้ที่ทำให้ต้องมาคิดเรื่องการแต่งกาย ได้แก่
1.ทิศทางจากฝ่ายบริหาร - อยากปรับภาพลักษณ์ให้บริษัทเป็นองค์กรสำหรับคนรุ่นใหม่ (เป็นส่วนหนึ่งของแผน Recruitment marketing)
2.ฺBack to the office - ช่วงนี้พนักงานเริ่มกลับเข้ามาทำงานในออฟฟิศ การแต่งกายของพนักงานเริ่มมีความเปลี่ยนแปลงไปในทาง Casual ลดความทางการลงมากขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นเพราะความเคยชินจากการทำงาน Work from home
3.ธรรมชาติที่แตกต่างของทีมงาน - ต้องบอกว่าที่ Head office มีหลากแผนก หลายฝ่ายที่ประกอบด้วยคนต่างอาชีพต่างนิสัยอย่างมาก เช่น ทีมโปรแกรมเมอร์, ทีมขาย, แอดมิน เป็นต้น ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะไม่ได้มีกฎตายตัวว่าต้องแต่งแบบไหน แต่ยังมีเสียงสะท้อนถึงความกระอักกระอ่วนใจในการแต่งกายอยู่บ้างว่ายังไม่กล้าทำตามที่อยากได้อย่างเต็มที่
4.ปรับภาพลักษณะของฝ่ายทรัพยากรบุคคล - ข้อนี้เป็นเป้าหมายของแผนกบุคคลเองที่อยากปรับลุคจากครูใหญ่จอมเข้มงวดให้เป็นเพื่อนรู้ใจที่คอยสนับสนุนพนักงาน ด้วยความที่นับวันคนเจนใหม่ๆ ก็เข้ามาในบริษัทเยอะขึ้นเรื่อยๆ ในขนะที่คนในแผนกบุคคลก็ปะปนด้วยรุ่นเก๋ารุ่นใหญ่ที่อยู่มานานและน้องๆที่เพิ่งเข้ามา เลยอยากปรับภาพจำเพื่อที่พนักงานจะได้มี Engagement กับกิจกรรมต่างๆของบริษัทมากยิ่งขึ้น
เลยอยากจะมาขอความเห็นเพื่อนๆว่า ผู้นำ ฝ่ายบริหาร และ HR จะวาง strategy/ทำงาน/ สื่อสาร หรือออกนโยบายที่มีต่อเรื่องนี้อย่างไรดี จริงๆ อยากเห็นผลลัพธ์ของเรื่องนี้ซักกลางปีหน้า รวมถึงวิธีการวัดผลว่าสำเร็จมากน้อยแค่ไหน หากเพื่อนๆคนไหนเคยทำเรื่อง Culture transformation มาร่วมวงแชร์จะขอบพระคุณมากๆครับ
3 คำตอบ
- Chanyachita Srichai02 ธันวาคม 2021 20:13 น.การสร้างภาพลักษณ์องค์กรและหน่วยงาน สิ่งที่เกี่ยวข้องคือ Employer Branding ค่ะ ขอตอบจากการเคยอยู่บริษัทที่ Re branding มา และดูจากข้อมูลที่ให้มานะคะ กระบวนการจะประมาณนี้ค่ะ
1.ประชุมระดมสมองเรื่องภาพลักษณ์ใหม่ที่หน่วยงานต่างๆ ต้องการให้บริษัทเป็นและตอบโจทย์ในข้อต่างๆของบริษัทและพนักงาน ( New Gen,Casual,Diversity Acception and new image) จะได้ผลลัพธ์รูปแบบ การแต่งกายที่ทุกคนมีส่วนร่วม เข้าใจซึ่งกันและกัน และเกิดความเป็น Ownership ค่ะ
2.สื่อสารความหมายกับพนักงานอย่างทั่วถึงว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ มีนัยยะสำคัญในการเปลี่ยนแปลงในทุกเรื่องเพื่อเป็นการสร้าง image ใหม่ให้บริษัท หน่วยงาน และทีมงาน มีความสำคัญอย่างไรในแง่ธุรกิจ ภาพลักษณ์ ชื่อเสียงองค์กร
3.สร้างเกมส์ กิจกรรมเพื่อทดสอบความเข้าใจ และ awareness ต่อภาพลักษณ์ใหม่ ชุดใหม่ เพื่อสร้า'แงแรงกระเพื่อมทางบวกในช่วงแรกของการสื่อสาร
4. ให้ผู้จัดการ หัวหน้างานเป็น Model ในการเปลี่ยนแปลง และสื่อสารภายในทีมอย่างสม่ำเสมอ
5.ออกแบบและทำกิจกรรมใหม่ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนความเปลี่ยนแปลง เพื่อให้พนักงานรู้สึกว่า บริษัทให้ความสำคัญ พนักงานก็ต้องมีส่วนร่วมด้วย รวมทั้งปรับเปลี่ยนบทบาท HR ให้สอดคล้องกับการเป็นเพื่อนรู้ใจที่สับสนุนพนักงาน ด้วยการออกแบบการให้บริการพนักงานรูปแบบใหม่ สร้าง Marketing Recruitment ซึ่งดึงดูดผู้สมัครโดยนำเสนอภาพลักษณ์ใหม่นี้ สร้างรูปแบบการทำงานบางอย่างให้ casual ขึ้นเพื่อให้พนักงานรู้สึก ไม่ต่างจากการ WFH จากที่ผ่านมามาก เช่น มุมกาแฟยามเบรค การประชุมแบบไม่เครงเครียดและมีขนมขบเคี้ยว
หวังว่าจะพอเป็น idea ได้บ้างนะคะ
0ขอบคุณสำหรับข้อมูลดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร27 พฤศจิกายน 2021 22:46 น.ขอแยกตอบ 2 คำถาม ค่ะ
คำถามแรก เรื่อง "วัฒนธรรมการแต่งกาย" แนะนำให้ฝ่ายงานต่าง ๆ ร่วมกันแสดงความคิดเห็น หรือตั้งคณะทำงานที่เป็นตัวแทนมาจากหน่วยงาน ส่งมาที่ HR โดยกำหนด theme สี (กรณีมีสีประจำบริษัท ก็ให้ใช้ได้เลย ) และ Key word ที่บ่งบอกอัตลักษณ์องค์กร ทั้งนี้ให้ตั้งงบประมาณไว้ด้วย หากมีตัวหนังสือมาก หรือใช้หลายสี ราคาก็จะแพงหน่อย
การแต่งกายของพนักงานสะท้อนบุคลิกองค์กร สามารถร่วมกันสร้างวัฒนธรรมองค์กรจากการแต่งกายได้
จากความเคยชินเรื่อง WFH ทำให้พนักงานแต่งกายสะดวกสบายมากขึ้น ดังนั้น เมื่อต้องกลับมาทำงาน ก็อาจจะกำหนดสัปดาห์ละ 1 วัน
ให้ Free Style แต่ต้องแต่งกายสุภาพ ไม่สวมรองเท้าแตะ หรือกางเกงยีนส์ ขาด ๆ มาทำงาน
กรณีลักษณะงานที่ต้องบริการและพบลูกค้า ต้องขอความร่วมมือแต่งกายตามระเบียบบริษัท ทุกวันที่มาทำงาน
คำถามที่สอง เกี่ยวกับ Culture Transformation ฝากแนวคิดไว้ 2 ข้อ
1. Rethink เมื่อคนในองค์กรมีหลากหลาย Gen. สามารถคิดใหม่ ทบทวนใหม่ได้ จำเป็นต้องแปลงโฉมวัฒนธรรมองค์กรหรือไม่
2. Key Business คืออะไร องค์กรต้องการคนแบบไหน มีพฤติกรรมการแสดงออกอย่างไร เพื่อนำไปสู่ Culture Transformation0ขอบคุณสำหรับข้อมูลดร.พลกฤต โสลาพากุล25 พฤศจิกายน 2021 22:21 น.ต้องดูการออกแบบจากจุดแข็งขององค์กร และทำการสำรวจแบบเปิดเป็น 4 C
1.Community define เปิดพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็น
2.Comunication วิธีการสื่อสารออกไป
3.Creative Thinking กระบวนคิด และการออกแบบ
4.Culture ค้นหาจุดแข็งของวัฒนธรรม0ขอบคุณสำหรับข้อมูลคุณเห็นด้วยกับนโยบายความเป็นส่วนตัว
และได้ศึกษาข้อตกลงในการใช้งานของ HR NOTE ก่อนเข้าใช้ระบบสมาชิกมีบัญชีอยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบ
อันดับผู้ให้ข้อมูล
ขออภัยในความไม่สะดวก
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนทำรายการต่อไป
มีบัญชีอยู่แล้ว?เข้าสู่ระบบ