- ผู้จัดการ (Manager)
- ทรัพยากรมนุษย์/บุคคล
- อื่นๆ
- 301~500 คน
ออกใบเตือนพนักงานมาสายบ่อย
พนักงานมาสายบ่อย ได้ออกใบเตือนไปหลายรอบแล้วตามเงื่อนไขกฎเกณฑ์ของบริษัท สุดท้ายจริง ๆ คือผู้บริหารต้องการให้พนักงานออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แบบนี้สามารถทำได้หรือไม่คะ
4 คำตอบ
- ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร30 ตุลาคม 2021 15:56 น.ตอบคำถามเพิ่มเติม กรณี
ออกใบเตือนพนักงานมาสายบ่อย
มีบางตำแหน่งงานที่อาจจะพิจารณา ยกเลิกการบันทึกเวลามาทำงาน เนื่องจากงานบางประเภท เช่น โปรแกรมเมอร์ งานออกแบบ หรืองานที่สามารถวัดผลสำเร็จของงานได้ชัดเจน
เริ่มมีหลายองค์กรที่ยกเลิกการมาสายสำหรับงานบางประเภท แต่ HR ต้องชี้แจงเหตุผลให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยอมรับด้วย มิเช่นนั้นจะเกิดปัญหาต่อภาพรวมเรื่องระเบียบวินัยในองค์กร อีกวิธีหนึ่งที่ทำได้ให้ปรับสภาพการจ้างเป็นการจ้างตามผลงาน และขอให้ระมัดระวังเรื่องกฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ปัญหาการเลิกจ้าง การจ่ายค่าชดเชย0ขอบคุณสำหรับข้อมูลดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร29 ตุลาคม 2021 22:48 น.ออกใบเตือนไปหลายรอบ จากคำถามไม่ได้บอกว่าเตือนด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษร กรณีพนักงานกระทำผิดซ้ำคำเตือนอาจเข้าข่ายความผิดวินัยร้ายแรง
การออกใบเตือนเพื่อกดดันให้พนักงานลาออกโดยบริษัทไม่ต้องการจ่ายค่าชดเชย เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกต้องและจะเป็นแบบอย่างที่ไม่ดีต่อเพื่อนพนักงานคนอื่น ในที่สุดการออกใบเตือนก็ไม่มีผลอะไรเลย ทำให้เกิดอาการดื้อยา เสียเวลาค่ะ
แนะนำให้ใช้หลักการแรงงานสัมพันธ์ สอบถามถึงสาเหตุการมาสาย ให้คำแนะนำแก่พนักงานเพื่อแก้ไข ให้โอกาสปรับปรุง
และทบทวน ระเบียบปฏิบัติ เรื่องการมาทำงานสายให้ชัดเจน ยกตัวอย่าง
1. การมาสายเกิน 3 ครั้งต่อเดือน จะถูกหักค่าจ้างตามเวลาที่สาย และได้รับโทษการตักเตือนด้วยวาจา (ต้องทำเป็นหนังสือ)
2. การมาสายเกิน 3 ครั้งต่อเดือนติดต่อกัน 2 เดือน จะถูกหักค่าจ้างตามเวลาที่สายและได้รับโทษการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร
3. การมาสายเกิน 3 ครั้งต่อเดือนติดต่อกัน 3 เดือน จะถูกหักค่าจ้างตามเวลาที่สาย โดยบริษัทจะพิจารณาโทษในสถานหนักขึ้น
หมายเหตุ การมาสายทุกกรณีจะมีผลถึงการปรับค่าจ้างเงินเดือนประจำปี และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของพนักงาน0ขอบคุณสำหรับข้อมูลดร.พลกฤต โสลาพากุล20 ตุลาคม 2021 22:40 น.กรณีนี้ให้กลับไปดูที่ระเบียบบริษัท เขียนในเรื่องของกฎเกณฑ์ไว้ว่าอย่างไร จะดีกว่าครับ0ขอบคุณสำหรับข้อมูลปราโมทย์ ลาภธนวิรุฬห์18 ตุลาคม 2021 20:53 น.สามารถกระทำได้โดยการปฏิบัติตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 119(4)
แต่ทั้งนี้ต้องไปตรวจสอบองค์ประกอบของหนังสือตักเตือนด้วยว่ามีสาระสำคัญครบถ้วนตามที่กำหนดไว้หรือไม่
0ขอบคุณสำหรับข้อมูลคุณเห็นด้วยกับนโยบายความเป็นส่วนตัว
และได้ศึกษาข้อตกลงในการใช้งานของ HR NOTE ก่อนเข้าใช้ระบบสมาชิกมีบัญชีอยู่แล้ว? เข้าสู่ระบบ
อันดับผู้ให้ข้อมูล
ขออภัยในความไม่สะดวก
คุณจำเป็นต้องเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกก่อนทำรายการต่อไป
มีบัญชีอยู่แล้ว?เข้าสู่ระบบ