การประเมินผลความดีความชอบในระบบราชการ ที่เป็นธรรมและนำไปสู่ประสิทธิภาพ มีแนวคิดหรือตัวอย่างใหม่ๆ อย่างไรบ้างนะคะ ขอบคุณค่ะ

Jaranya Hunsrisakhun
Jaranya Hunsrisakhun
    12 พฤษภาคม 2021 12:06 น.
    ในการประเมินความดีความชอบของระบบราชการ ซึ่งปัจจุบัน เริ่มมีแนวคิดคล้าย Top up คือมีอัตรก้าวหน้าเพิ่มจากพื้นฐาน ซึ่งหากจะสร้างความท้าทาย ตอบโจทย์ผลลัพธ์ได้จริง แต่ยังมีลักษณะของการสร้างทีมใหญ่ จะทำอย่างไรได้บ้างนะคะ (เนื่องจากจะมีความลำบากในการเปรียบเทียบระหว่างหน่วยงาน และการมีโควต้าของเงินที่ลงไปในแต่หน่วยงาน ทำให้ไม่กล้าเปรียบเทียบ หรือหาเกณฑ์ที่เทียบระหว่างความต่างของงานได้ยาก) จึงอยากขอคำแนะนำค่ะ ขอบคุณค่ะ 

    คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

    1 คำตอบ

    • สวัสดีค่ะ ขอแชร์ความคิดเห็นในมุมมองผ่านการทำงานขององค์กรเอกชน เผื่อเป็น Ideaในการปรับใช้นะคะ
      จากคำถามมี 2 ประเด็นย่อย คือการประเมิน และ การให้ผลตอบแทน

      การประเมินผลงานจะเน้นการประเมินบนเป้าหมายและตัวชี้วัด (ระบบราชการอาจจะเรียกประเมินความดีความชอบ)
      ซึ่งปกติแล้ว หน่วยงานที่ทำหน้าที่ต่างกัน ก็จะตั้งเป้าและ KPI ต่างกัน (โดยมากเราจะไม่นำเป้าหมายและ KPI ของงานที่ต่างกันมาเปรียบเทียบ)

      ส่วนการประเมินผลงาน (ให้เกรดหรือให้ Rating) ควรจะมีการนำมาปรับเทียบ (นำมาเทียบเพื่อดูแนวโน้มและป้องกันอคติและความไม่เป็นธรรม) ในการปรับเทียบก็จะมุ่งไปที่จุดตั้งต้นคือเป้าหมายและตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม หรือในบางองค์กรก็ใช้ competency หรือพฤติกรรมมาร่วมวัดด้วย หมายความว่า หากองค์กรใดไม่ได้ใช้การตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมมาเป็นตัวกำหนดความดีความชอบหรือผลงาน ก็ไม่สามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้ เพราะไม่มี Fact หรือหลักการในการเปรียบเทียบ จะก่อให้เกิดความเห็นที่ไม่ลงรอยกัน

      ในส่วนการจัดสรรงบการให้รางวัลและผลตอบแทนตามผลงาน (หรือความดีความชอบ) แบบมีโควตาก็เป็นสิ่งที่ตามมาจากการมีระบบการประเมินและวัดผลที่ชัดเจนก่อน เราสามารถจัดทำนโยบายการจ่าย (Pay Policy) ของเราบนผลงานที่แตกต่างกันได้ เช่นหน่วยงานที่มีผลงาน A พนักงานในหน่วยงานนั้นจะได้รับผลตอบแทนสูงกว่า

      สรุป
      1. ควรทำเกณฑ์การตั้งเป้า การประเมิน การวัดผลให้ชัด (เป็นกระดุมเม็ดแรก)
      2. หากทำข้อ 1 ชัดแล้ว เราจะสามารถนำ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ผลงานมาเปรียบเทียบกันได้ เพราะทุกคนอยู่ในเกณฑ์เดียวกัน  ข้อพึงพิจารณาคือ เราไม่สามารถเปรีบบเทียบว่างานใดยากหรือง่ายกว่า หรืองานใดทำให้คนผลงานดีกว่า เพราะงานแต่ละงานไม่เหมือนกัน แต่เราควรเทียบผลงานกับเป้าหมายของงานที่ตั้งและดูว่าคนที่ทำงานนั้น ทำได้ดีแค่ไหน 
       
      0

      คัดลอก URL เรียบร้อยแล้ว!

      ขอบคุณสำหรับข้อมูล

    อันดับผู้ให้ข้อมูล